วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อันตรายจากงานพ่นสี (Spray painting)


อันตรายจากงานพ่นสี (Spray painting)

งานพ่นสีจัดเป็นงานที่มีความอันตรายมากงานหนึ่ง เนื่องจากสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นจากการพ่นสีประกอบไปด้วยสองตัวหลักคือ ละออง(Mist) และไอระเหย(Vapor)

1 .ละออง (Mist) เป็นอนุภาค ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ ในอดีตละอองมีองค์ประกอบของ Pigment ซึ่งได้แก่ตะกั่ว และโครเมียม สารทั้งสองตัวนี้ทำให้เกิดพิษในร่างกาย ระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย และทำให้เป็นโรคจากการทำงานและถึงขั้นเสียชีวิตได้

2. ไอระเหย (Vapor) มีรูปร่างไม่แน่นอนและสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลๆ โดยไอระเหยส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็น Iso cyanate, Ketone, Toluene และ Xylene สารดังกล่าวก่อให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แสบคัน ระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ และผิวหนังได้ ตลอดจนทำให้เกิดพิษในโลหิต เป็นโรคไตและเป็นอาการเรื้อรังได้

ผมเคยพบพยาบาลท่านหนึ่งที่เชียงใหม่ เธอเคยทำงานที่อเมริกามาก่อนและบอกว่าพบสามีภรรยาคู่หนึ่งรวยมากๆ แต่ต้องจูงมือไปฟอกไตทุกอาทิตย์ เพราะมีกิจการเป็นอู่พ่นสี ที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี และต้องสัมผัสตลอดเวลาโดยไ้ม่สวมใส่หน้ากาก ผมฟังแล้วชีวิตที่ดีที่สุดคือการไม่เกิดโรคภัยใดๆซึ่งวิเศษกว่าการมีเงินทองมากๆ แต่เจ็บป่วย น่าสงสารครับ

การเลือกใช้หน้ากากเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อไม่สามารถแก้ไขที่ต้นเหตุได้ การเลือกหน้ากากในงานพ่นสีจำเป็นต้องพิจารณาถึง
  • ชนิดของสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้น
  • ระดับความเข้มข้นของสารอันตราย
  • ปริมาณออกซิเจนที่หายใจในสถานที่ทำงาน
  • ความพึงพอใจของผู้สวมใส่

ทั้งหมดนี้เป็นอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายในเบื้องต้นครับ
โดยหน้ากากที่เหมาะกับงานพ่นสียังสามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิด

1. Air-Purifying Facepiece Respirator (ชนิดกรองอากาศให้บริสุทธิ์)

1.1 ใช้แล้วทิ้ง (Disposable respirator)


สิ่งที่ควรทราบ
  • หน้ากากชนิดนี้นำมาล้างหรือทำความสะอาดไม่ได้
  • มาตรฐานหน้ากากต้องได้รับมาตรฐานที่รับรองการป้องกันอนุภาคและไอระเหยได้ เช่น GP1
  • หน้ากากที่มีวาล์วระบายความร้อนจะช่วยให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายมากขึ้น
  • ควรเลือกที่แนบกระชับใบหน้า และไม่บดบังวิสัยทัศน์ในการทำงาน หรือเป็นอุปสรรคในการสวมใส่ PPE อื่นๆ
  • ป้องกันได้ละออง และไอระเหยในระดับเจือจางเท่านั้น

1.2. นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusable respirator)
สิ่งที่ควรทราบ
  • หน้ากากชนิดนี้นำมาใช้ใหม่ได้โดยการเปลี่ยนตัวกรอง อะไหล่ และทำความสะอาดได้(ยกเว้นตัวกรอง)
  • ตัวกรองและหน้ากากต้องได้รับมาตรฐานที่รับรองการป้องกันอนุภาคและไอระเหยได้
  • มีขนาดให้เลือก เพื่อความแนบกระชับใบหน้า และไม่บดบังวิสัยทัศน์ในการทำงาน หรือเป็นอุปสรรคในการสวมใส่ PPE อื่นๆ
  • ปัจจุบันหน้ากากหลายชนิดเป็นซิลิโคนซึ่งเป็นวัสดุที่นุ่ม ใกล้เคียงผิวหนังมนุษย์ที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มความสบายและกระชับ
  • การหายใจอาจหายใจได้ไม่สะดวกเท่าหน้ากากไส้กรองคู่ แต่มีข้อดีในเรื่องน้ำหนัก และความสบายของผู้ใช้งาน

1.3 Powered Air-Purifying Respirator

สิ่งที่ควรทราบ
  • ประกอบไปด้วยที่คลุมศีรษะ,ท่อหายใจ,ชุดกรองอากาศ และแบตเตอรี่
  • อาศัยหลักการกรองอากาศจากภายนอก และส่งผ่านอากาศบริสุทธิ์ไปยังศีรษะ (Positive pressure)
  • หน้ากากชนิดนี้นำมาใช้ใหม่ได้โดยการเปลี่ยนตัวกรอง อะไหล่ และทำความสะอาดได้(ยกเว้นตัวกรอง)
  • ตัวกรองและที่คลุมศีรษะต้องได้รับมาตรฐานที่รับรองทั้งระบบ
  • ไม่ต้องคำนึงถึงความกระชับที่ใบหน้าเนื่องจากอากาศจะส่งผ่านออกรอบที่คลุมศีรษะตลอดเวลา
  • การหายใจสะดวกมากกว่าทั้งสองชนิดข้างต้น

2. Supplied-air respirator (ชนิดส่งผ่านอากาศ)

สิ่งที่ควรทราบ
  • ประกอบไปด้วยที่คลุมศีรษะ,ท่อหายใจ,อุปกรณ์ปรับแรงดัน,สายส่งผ่านอากาศ,ตัวกรอง/ควบคุมแรงดัน และแหล่งผลิตอากาศ (Compressor air, Plan air)
  • อาศัยหลักการส่งผ่านอากาศจากแหล่งกำเนิดผ่านระบบกรอง ไปยังอุปกรณ์ปรับแรงดัน และส่งผ่านท่อหายใจ และส่งอากาศบริสุทธิ์ไปยังศีรษะ (Positive pressure)
  • หน้ากากชนิดนี้นำมาใช้ใหม่ได้โดยการเปลี่ยนตัวกรอง อะไหล่ และทำความสะอาดได้(ยกเว้นตัว กรอง)
  • ไม่ต้องคำนึงถึงความกระชับที่ใบหน้าเนื่องจากอากาศจะส่งผ่านออกรอบที่คลุมศีรษะตลอดเวลา
  • หายใจได้สะดวกที่สุด
  • ใช้ได้ผลดีมากเนื่องจากช่วยลดอุณภูมิให้เย็นสบาย ทำให้ช่างพ่นสีพึงพอใจ ไม่ร้อนอบอ้าวขณะทำงาน
  • ข้อเสียการลงทุนค่อนข้างสูงในระยะแรก แต่คุ้มค่าในระยะยาวเพราะไม่ต้องเปลี่ยนตัวกรองบ่อยๆ

ถ้ามีข้อสงสัยใดๆโพสต์สอบถามได้ ผมไม่สามารถเขียนได้ทั้งหมด เพราะถ้าเขียนมากไปบทความจะไม่น่าอ่านครับ




ขอบคุณข้อมูลด้านเทคนิคผลิตภัณฑ์ http://www.esafetythailand.com
โดย http://www.ohsafetytraining.com

ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

Source : http://www.ohsafetytraining.com




1 ความคิดเห็น: