วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การป้องกันเสียงกระแทก


Impulse Noise Protection



เสียงดังที่เรารู้จักกันโดยหลักๆมี 2 ประเภท คือ "เสียงดังชนิดแบบต่อเนื่อง" และ "ไม่ต่อเนื่อง"

เสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องสามารถแบ่งออกได้โดยพิจารณาความแตกต่างของระดับความดัง (Decibel) ระดับความดังของเสียงดังแบบต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้โดยเปรียบเทียบความแตกต่างกันที่ระดับความดังแตกต่างไม่เกิน 5 เดซิเบล เรียกว่า "Steady-state Noise" เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่นพัดลม แอร์ ส่วนเสียงที่มีความดังแตกต่างกันากกว่า 5 เดซิเบล เรียกว่า "Fluctuating Noise" โดยเสียงดังชนิดนี้มักพบในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เราปวดหัวกันอยู่ทุกๆวันนั่นเอง

กราฟ Impulse noise

ส่วนเสียงดังแบบไม่ต่อเนื่องที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่เรามักไม่ได้พูดถึงกันมากนัก คือ เสียงกระแทก "Impulse Noise" ซึ่งอาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น Impact Noise หรือ Implosive Noise ซึ่งเป็นเสียงที่ช่วงความดังสูงสุดสั้นและตกลงมาต่ำสุดไปอย่างรวดเร็วในระดับมิลลิวินาที (ms) เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน และ เสียงตกกระทบของวัตถุ เป็นต้น (กราฟด้านบน)


หูของเราแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน โดยอวัยวะที่สำคัญมากๆก คือ เซลล์ขน (Hair cell) ในคลอเคลีย (Cochlea) ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงไปยังระบบประสาทให้ทราบว่าเสียงที่ได้ยิน คือ เสียงของอะไร



วีดีโอยิงปืนโดยไม่สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง


Impulse Noise มักเกิดจากใช้อาวุธสงคราม เช่น ปืนพก ปืนใหญ่ ปืนกล และมีระดับความเสี่ยงที่มากกว่าหรือเท่ากับ 140 เดซิเบล ซึ่งสามารถทำลายประสาทหูแบบถาวรได้ เรียกว่า Acoustic trauma เยื่อแก้วหู อาจทะลุ ปวดศีรษะ ปวดหู Impulse Noise เป็นเสียงดังแบบไม่ต่อเนื่องที่มีความเป็นอันตรายสูง


การป้องกันเสียง Impulse Noise

เราสามารถทำได้โดยการสวมใส่อุปกรณ์ลดเสียง เมื่อไม่สามารถป้องกันที่แหล่งกำเนิดได้ (Source)

ครอบหูลดเ้สียง และปลั๊กอุดหู สามารถช่วยลดความเป็นอันตรายได้ระดับหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ยังไม่สามารถลดระดับเสียงของ Impulse Noise ให้ลดลงถึงระดับปลอดภัยได้ คือ การทำให้ระดับเสียงที่เข้าไปในหูต่ำกว่า 85 เดซิเบล เพราะ ครอบหูลดเสียง, ปลั๊กอุดหูชนิดธรรมดา (Passive hearing protection) มีค่า NRR (ค่าการลดเสียง) ส่วนใหญ่เท่ากับ 25-33 เดซิเบล ซึ่งยังไม่เพียงพอในการป้องกันเสียงประเภทนี้

สมัยที่ผมไปเรียนเรื่องนี้ที่ 3M Peltor ประเทศสวีเดนผมได้ถามถึงการป้องกันเสียงดังประเภทนี้ คนที่นั่นเก่งมากครับ พวกสวีเดนนี่สุดยอดจริงๆ เขาได้พัฒนาครอบหูลดเสียงที่สามารถให้สามารถป้องกันอันตรายของเสียงดังกล่าวได้ หรือที่เรียกว่า ครอบหูลดเสียงอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic earmuffs, Active earmuffs) โดยครอบหูชนิดนี้มีวงจรอิเล็กทรอนิคภายใน และมีไมโครโฟนสำหรับลด Amplitude ความสูงของคลื่นเสียง ให้ลดลงก่อนที่เข้าไปในรูหู โดยลดลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 85 เดซิเบลซึ่งปลอดภัย และช่วยคุ้มครองความ

ปลอดภัยให้กับผู้ที่รักการยิงปืน หรือจำเป็นต้องยิงเพราะความจำเป็น



ภาพประกอบ Tactical 6S คน และ คนสวีเดนสอนผมยิงปืน



นอกจากครอบหูลดเสียงแล้ว ยังมีปลั๊กลดเสียงที่ใช้ในการป้องกันเสียงยิงปืนเช่นกัน โดยปลายด้านหนึ่งเป็นสีเขียว และอีกด้านหนึ่งเป็นสีเหลือง
เมื่อสวมใส่ด้านสีเหลืองจะสามารถป้องกันเสียงยิงปืน เสียงกระแทก และช่วยให้ได้ยินเสียงรอบข้างได้ชัดเจน เช่นเสียงฝีเท้า คนเดิน สัตว์เลื้อยคลาน ส่วนด้านสีเีขียวเมื่อสวมใส่แล้ว ค่าการป้องกันจะเหมือนกับปลั๊กลดเสียงธรรมดา

ภาพประกอบปลั๊กอุดหูยิงปืน Combat arms earplugs



ขอบคุณข้อมูลด้านเทคนิคผลิตภัณฑ์ http://www.esafetythailand.com


ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

Source : http://www.ohsafetytraining.com



Reference

http://en.wikipedia.org/wiki/Impulse_noise_(audio)

3M, Peltor communication

http://www.aikidofaq.com

http://www.esafetythailand.com

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พนักงานเกือบขาดอากาศหายใจในที่อับอากาศ

ฺำNear miss in confined space


ช่วงนี้ค่อนข้างวุ่นๆเลยไม่มีเวลาเขียนบทความเท่าไร เผอิญไปเจอข้อมูลเก่าสมัยที่เป็นจป.วิชาชีพ อ่านแล้วเป็นประโยชน์ดีครับ ซึ่ง Near miss เป็นอะไรที่ช่วยให้เราประเมินได้ว่ามาตรการความปลอดภัยของเราเป็นอย่างไร และเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับปรุงแก้ไข

ผมค้นไปค้นมาก็เจอหัวข้อนี้ที่น่าสนใจก็เลยเอามาลงให้อ่านนะครับ


เหตุการณ์:

ขณะที่พนักงานเข้าไปทำความสะอาดในถังผลิตสารเคมี แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น pneumatic valve (วาล์วลม) ในท่อไนโตรเจนถูกเปิด โชคดีที่พนักงานรู้สึกถึงก๊าซที่รั่วไหล ทันใดนั้นเขารู้สึกว่ามีลมจำนวนมากพุ่งเข้าไปภายในปากของเขา จึงรู้สึกไม่ดีและรีบปีนออกมาจากถังผลิตเคมีทันที พนักงานมีอาการไม่สบาย และไม่เป็นปกติไปหลายวัน


สาเหตุ:

- ไม่มีใบขออนุญาตลงถัง ที่อับอากาศ

- ท่อ วาล์วต่างๆถังผลิตเคมีไม่ได้ถูกทำการป้องกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเข้าไปปฏิบัติงานภายใน และไม่ได้มีการตัดแยกระบบของท่อต่างๆก่อนเข้าไปในถัง

- ไม่มีการตรวจสอบอากาศภายใน

- พนักงานไม่สวมหน้ากากป้องกัน หรือเครื่องช่วยหายใจ

- พนักงานไม่นำเข็มขัดนิรภัย/สายช่วยชีวิตมาใช้

- สวิตซ์ Compressed air และ Pneumatic valve ไม่ได้ทำการล็อค

- ไม่มีผู้สังเกตการหรือสำรวจภายนอกถัง ซึ่งสามารถช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน


มาตรการในการปรับปรุงแก้ไข

- ออกเป็นกฎ และการขออนุญาตของการทำงานในสถานที่อับอากาศ

- อบรมหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานให้เพียงพอ


เครื่องเตือนสติ

- การทำงานในที่อับอากาศ ปราศจากการป้องกันเพื่อความปลอดภัย ปราศจากการการปิดแยกระบบต่างๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้

- หัวหน้างาน และผู้จัดการพื้นที่ ต้องมีความคุ้นเคยกับการทำงานในที่อับอากาศ ผู้จัดการที่รับผิดชอบต้องตรวจสบพื้นที่ทำงานในสถานการณ์นั้นๆก่อนที่จะอนุญาต

- การปิดวาล์วต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การตัดระบบท่อ วาล์ว เป็นสิ่งสำคัญมาก


คำถามที่เป็นประโยชน์

- โรงงานมีการชี้ชัดในเรื่องของขั้นตอนการทำงาน และการตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานในสถานที่อับอากาศ ระบบการอนุญาตทำงานหรือไม่? ขั้นตอนการทำงานต้อง อธิบายเป็นทีละขั้นตอนใช่หรือไม่? ต้องมีผู้อนุญาตให้ทำงานได้ก่อนปฏิบัติงานหรือไม่?

- มีมาตรการที่เข้มงวดในการปฏิติงานหรือไม่

- การประสานงานระหว่างเจ้าของพื้นที่ และฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยที่ ดีใช่หรือไม่


ไว้โอกาสหน้าจะหาตัวอย่างอื่นๆมาให้อ่านกันอีกครับ

ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ