วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลูกน้อยอาจหูหนวกได้...ถ้าไม่ป้องกัน



ภาพ : www.108plus.com

หลายคนไม่ทราบว่าการรับรู้การได้ยินของเด็กนั้นไวมาก เราสามารถสังเกตได้จาก การที่เขาสะดุ้ง หรือตื่นขึ้นมา หันควับไปทางใดทางหนึ่ง อันนี้เกี่ยวกับแม่ซื้อหรือเปล่า ผมไม่มั่นใจนัก เรื่องราวของแม่ซื้อสามารถดูได้ที่ "ตำนานลึกลับแม่ซื้อ"
ในทางการแพทย์นั้นได้กล่าวไว้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในการรับรู้การได้ยินเป็นดังนี้ครับ

พัฒนาการของเด็กต่อการได้ยิน
  • 0-4 เดือน : สะดุ้งทันที ที่ได้ยินเสียงดัง
  • 3-6 เดือน : สามารถหันไปตามทิศทางของเสียงได้ รู้ชื่อตัวเอง ยิ้ม ร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดุ เสียง
  • 6-10 เดือน : เริ่มตั้งใจฟังเวลามีคนคุยด้วย และขยับไปยังแหล่งกำเนิดเสียงได้ เช่น ประตู สุนัข เห่า
  • 10-15 เดือน : เริ่มพูดอ้อแอ้ได้ เรียบเรียงคำพูดได้บ้าง
  • 15-18 เดือน : เริ่มเข้าใจประโยคง่ายๆ เช่น ไม่ อย่า บ๊าบ บาย และเข้าใจศัพท์อื่นๆ ประมาณ 20 คำ

ถ้าไม่สามารถตอบสนองตามที่ระบุไว้อาจมีความเสี่ยงเรื่องของการสูญเสียการได้ยินได้ควรรีบไปพบแพทย์

ภาพ : www.108plus.com  
วง Spice girl และครอบครัว พร้อมอุปกรณ์ป้องกัน

สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินของเด็ก

ภาวะที่อยู่ในครรภ์มารดาก็อาจมีความเสี่ยงได้ เช่น การติดเชื้อไข้หัดเยอรมัน เชื้อหวัด การขาดออกซิเจนในครรภ์ และสภาวะความผิดปกติของยีน
ในประเทศสหรัฐอเมริกา 1.3 ล้านคนของเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพในการได้ยิน อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อในหูในระยะ 3 เดือนแรก สมองบวม การได้รับยา antibiotic ผ่านกระแสเลือด และยังสามารถสังเกตได้จากการไม่สะดุ้ง ไม่ตื่น เมื่อได้ยินเสียงดัง

นอกจากนี้ยังเกิดจากการไม่เอาใจใส่ของผู้ปกครอง เช่น นำไปด้วยในสถานที่ก่อสร้าง โรงงาน ไปดูรถแข่งไปชมดนตรี ร้านอาหารที่เสียงดัง ฟู้ดคอร์ท ตลาด ซุปเปอร์มาเกต แม้กระทั้งการเปิดเพลงเสียงดังในรถ และ การเลือกของเล่นที่มีเสียงดังเกินไปสำหรับเด็ก (82-85 เดซิเบล) ซึ่งสำหรับเด็กแล้วไม่ควรได้ยินเกิน 1 ช.ม.ต่อวัน เช่น ปืน รถแข่ง รถเข็นที่มีเสียงเพลง และ ขณะหัดเดิน เป็นต้น




ภาพ : www.earplugstore.com

วิธีการป้องกัน
  • คุณสามีต้องดูแล ภรรยาดีๆ อย่าให้ติดเชื้อดังกล่าวขณะตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปในพื้นที่มีมีเสียงดัง และอย่าให้เล่นของเล่นที่มีเสียงดังเกินไปนานๆ
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเีสียงดัง อุปกรณ์ลดเสียงสำหรับเด็ก (kid earmuff)
  • คอยหมั่นดูแล และสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยสม่ำเสมอ

แหล่ง
http://www.esafetythailand.com
http://www.babaycenter.com
http://www.babyhearing>org
http://www.entnet.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น