วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปเทคนิค Lead Auditor OHSAS 18001



ภาพ : www.jtanzilco.com


ผ่านไปเรียบร้อยกับ การเรียนหลักสูตร 5 วันสำหรับ "Lead Auditor OHSAS 18001 (IRCA)" ที่ Moody ผมว่าค่อนข้างเหนื่อยเหมือนกันกับการเรียนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการบ้านทุกวัน และการสอบในวันสุดท้าย ส่วนตัวก็ภาวนาให้ผ่านไปด้วยดี และจะได้ดำเนินการเก็บชั่วโมงการเป็น Auditor และ Lead auditor ต่อไป

วิทยากร คือ "อาจารย์ปานเทพ พันธุ์ฟัก" ผู้มากด้วยประสบการณ์และตอบคำถามได้ดี และชัดเจนมากๆ ตลอดจนสรุปความรู้ ข้อเสนอแนะที่ดีในแต่ละ Workshop ให้กับเรา



ภาพ : www.ormston.co.uk

ด้วยความที่ว่าผมก็ไม่เคยมีประสบการณ์เลยในการเป็น Auditor อย่างเป็นทางการมาก่อน แต่อยากจะเรียนรู้ก็เลยไปเรียน ก็ได้พบความลำบากหลายอย่าง แต่สิ่งที่ช่วยผมได้ก็คือความรู้ทางด้้าน Technical and OH&S Knowledge ที่มีและนำมาใช้เยอะจริงๆ คนที่มีประสบการณ์ จป, นักกฎหมายและ ผู้ตรวจประเมิน ค่อนข้างจะได้เปรียบและช่วยในกระบวนการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น

สรุปสิ่งที่ได้รับตามความเข้าใจ และเทคนิคที่เรียนรู้มานะครับ
  • OHSAS 18001 คือ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมต้องไปอ่านเพิ่มใน Guideline 18002
  • ช่วยให้เข้าใจข้อกำหนดของ OHSAS 18001 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, เทคนิค และจรรยาบรรณ
  • ช่วยในการวางแผนกิจกรรมความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ประเมิน ทบทวน และ แก้ไข ได้ว่าต้องทำอย่างไร
  • นโยบายควรครอบคลุมสุขภาพ ความปลอดภัยของพนักงานทุกคน ผู้รับเหมา แขก ในสถานที่ทำงาน และแม้กระทั่งนอกเวลางาน ถ้างานนั้นๆ หรือบริการนั้นๆถูกกำกับโดยบริษัท
  • วินัย การตรงต่อเวลาของ Auditor เป็นเรื่องที่ขาดเสียไม่ได้ เพราะการตรวจประเมินแต่ละครั้งมีเวลาจำกัด และยังอาจมีเวลาที่เสียไปจากการพาไปกินข้าวไกลๆ กลับมาสายๆ ตรวจได้น้อยๆ (สำหรับบาง Auditee ที่จัดให้) Auditor ในสมัยก่อนต้องมีการทำงานกลางวันไปด้วยหรือเรียกว่า working lunch
  • Lead auditor ทำงานแทบทุกอย่างตั้งแต่ planning, opening meeting, closing meeting และ Final report เหนื่อยสุดๆเลยครับ
  • การให้ NC หรือ Non-conforming มากๆใช่ว่าจะเป็นสิ่งดีเสมอไป ไม่ใช่ว่าเราเก่ง เราเจ๋ง ต้องรู้จักแยกแยะว่า major, minor, safety หรือ observation และต้องหัดเป็นผู้ฟังที่ดีอย่านึกว่าเราแน่เสมอไป ลดตัวกูของกูลงดีกว่า
  • การแก้ไขสถานะการเฉพาะหน้าเป็นเรื่องจำเป็น บางครั้ง Auditee อาจมี heat ขึ้น หรือต้องการเจรจาต่อรองเพื่อยกเลิก NC นั้นๆ Auditor ควรเข้าใจหลักการและศิลปะในการพูดว่าทำไมถึงเป็น NC เพราะถ้าเราทำไม่ดีแล้วบางทีอาจจะมี Complaint ไปถึงต้นสังกัดของเราได้
  • Auditor ควรมีสุนทรียวาจาที่ดีไม่ทำให้ Auditee เสียหน้าเมื่อพบหลักฐานจากการตรวจประเมินว่าเป็นเท็จ เช่น อาจพูดว่า "คุณทำได้ดีจริงๆเกือบทั้งหมดแต่คุณอาจลืมตรงนี้ไปครับ" หรือ "บางแผนกอาจไม่ได้แจ้งให้คุณรับทราบใช่มั้ยครับ" ซึ่งดีกว่าพูดว่า "ไหนคุณว่าคุณทำนี่ ทำไมมันไม่ไม่มี" หรือ "ยิ้มเยาะ ดูถูก ไม่ให้เกียรติกัน" เป็นมารยาทที่ไม่้ดีครับ ซึ่งสองประโยคนี้ผมเจอกับตัวมาจริงๆสมัยเป็น จป
  • การ Closing meeting ทุกครั้งจำเป็นต้องอธิบายให้ผู้เข้าประชุมทราบข้อสรุปทั้งหมดก่อนที่จะให้มีการสอบถาม หรือโต้แย้งเพราะว่ามันจะยาว และไม่จบซะที
  • การทำ Document review เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นก่อนที่จะทำการตรวจประเมินจริง on-site เพื่อดูว่าทุกกิจกรรมได้มีการทำจริงหรือไม่เบื้องต้น
  • Proactive (การป้องกันก่อนเกิด) เช่น Industrial hygiene, physical check-up, internal audit เป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่า Reactive (การป้องกันหลังการเกิด) เช่น Incident report, การแก้ปัญหาภายหลังที่ Incident ได้เกิดขึ้นแล้ว
  • ก่อนการตรวจจริงจำเป็นต้องทราบ Culture ของบริษัทที่ให้เราไปตรวจประเมิน รู้จักว่าใครเป็น Guide ให้เรา และทราบด้วยว่าอะไรที่จำเป็นต้องตรวจเพื่อค้นหาหลักฐาน สิ่งที่ช่วยได้เป็นอย่างดี คือ การทำ Checklist จะช่วยให้เราตรวจประเมินได้ตามวัตถุประสงค์ และไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ
  • เทคนิคการตรวจที่ใช้กันมา คือ forward (การตรวจจากต้นไปผล) และ backward (การตรวจากผลมาที่ต้นเหตุ) และยังมีเทคนิคการตรวจแบบ Vertical และ Horizontal ด้วยครับ
  • การตรวจประเมินทุกครั้งถ้าจะใหดีควรมี Technical Expert ในเรื่องนั้นๆไปด้วยจะดีมากๆครับ เช่น safety officer หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ทั้งหมดนี้คือประเด็นหลักๆที่ผมสรุปมาครับจริงๆยังมีอีกเยอะ แต่กลัวว่าจะเบื่ออ่านเสียก่อนไว้มีเวลาจะกลับมาเขียนต่อนะครับ



ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ