วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

จิตสำนึกความปลอดภัย ตอนที่ 4 : สาเหตุแอบแฝง



ความเดิมตอนที่แล้วเราได้เห็นวิธีการพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Talk to) แต่เหตุใดพฤติกรรมเสี่ยง (At risk) เหล่านี้ถึงได้เกิดขึ้นล่ะ มันเป็นพฤติกรรม หรือโรคติดต่อหรือเปล่าก็ไม่รู้ เรามาดูกันดีกว่าครับ
การที่คนแสดงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยนั้นมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆแล้วมีสาเหตุแอบแฝงดังต่อไปนี้
สาเหตุแอบแฝง(underlying causes)
  1. ขาดความรู้ หรือไม่ได้รับการอบรม
  2. คิดว่ามันไม่เกิดขึ้นตอนนี้หรอก
  3. ทัศนคติไม่ดีต่อความปลอดภัย
  4. ไม่เข้าใจการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย
  5. ทำแบบนี้มานานแล้วก็ไม่เป็นอะไร
  6. ทำตามพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของคนหมู่มาก
  7. สะดวกอิสระ สบาย เอาง่ายเข้าว่า
  8. ให้ความสำคัญผลผลิตมากเกินไป
  9. สภาพจิตใจในขณะนั้น เป็นกังวล จิตใจไม่ปกติ



ลองย้อนกลับไปอ่าน ตัวอย่างที่ 2 ของตอนที่ 3 ดูสิครับว่าสาเหตุแอบแฝง คือ หัวข้อใด ผมให้เวลา 1 นาทีครับ
เฉลย คือ ข้อที่ 1, 4 และ 7 คือ พนักงานไม่มีความรู้ว่าทินเนอร์มันอันตรายต่อสุขภาพเพียงใด, ไม่ทราบว่าตลับกรองที่สวมใส่อยู่หมดอายุซะแล้ว และปฏิสธการสวมใส่หน้ากากเพราะว่าสบายกว่า
แต่คนเรา หรือหัวหน้างานมักจะด่วนพิพากษาก่อนเลย คือ ตัดสินจากตาของเราที่เห็น เช่น พนักงานไม่ใส่หน้ากาก ก็สรุปเลยว่าไอ้นี่ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยเลย แต่แท้จริงแล้วอาจมาจาก ข้อที่ 1 ก็ได้ คือ ขาดความรู้ ไม่ได้รับการอบรม
ผมมีตัวอย่างหนึ่งน่าสนใจมากที่ได้ยินมาจาก อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ เรื่องมันมีอยู่ว่า

 ภาพ : citicab.weebly.com

บริเวณจุดกลับรถแห่งหนึ่ง คนขับรถเก๋งสุดหรูกำลังรอที่จะกลับรถที่จุดกลับรถ อย่างไม่รีบร้อน ทันใดนั้นเอง แท๊กซี่ที่อยู่ด้านหลังกดแตรไล่ ปิ้นๆๆๆ คนขับรถเก๋งก็อารมณืเสียขึ้นมาทันที และไม่สนใจไม่ยอมกลับรถสักทีนานอยู่หลายนาที แม้ว่ารถจะว่างแล้ว คนขับรถเก๋งก็ไม่ขยับไปไหน แท๊กซี่ก็กดแตร์ต่อไป ทั้งถี่ ทั้งยาว สนั่นหวั่นไหวมากกว่าเดิม คนขับรถเก๋งโกธรจัด หูแดง ควันออกจมูก ลงจากรถ ด้วยใบหน้าที่แดงกร่ำ ด้วยความโกธร และเดินตรงไปที่แท๊กซี่ และบอกว่า…”
คนขับรถเก๋ง : ลุง มีปัญหาอะไร!
ลุงขับแท๊กซี่: รถก็ว่างแล้วทำไมคุณไม่ไปล่ะครับ แต่ตอนนี้ผมไม่รีบแล้วล่ะ
คนขับรถเก๋ง : ทำไมล่ะ! และเหลือบมองเข้าไปที่เบาะหลัง เห็นหญิงสาวนอนแน่นิ่ง
ลุงขับแท๊กซี่: ผมมีคนป่วยมาด้วยเขาต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วน แต่สายไปเสียแล้วล่ะ เขาเสียชีวิตแล้วครับ
คนขับรถเก๋ง : แน่นิ่ง มือสั่น ทำอะไรไม่ถูกและรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ตนเองทำลงไปเนื่องจากไม่ทราบสาเหตุก่อน
ตัวอย่างนี้ค่อนข้างชัดเจน ผมคงไม่อธิบายแล้วนะครับว่า การไม่ค้นหาสาเหตุแอบแฝงก่อน หรือสรุปเอาเอง ไม่ห้อยคำพิพากษาก่อน ผลสุดท้ายมันเป็นอย่างไร
 ภาพ : www.smu.edu.sg


คำถามที่เป็นประโยชน์
  • ที่ทำงานของเราพนักงานพนักงานทำพฤติกรรมเสี่ยง (At risk ) บ้างหรือเปล่า?
  • พนักงานเหล่านั้นทำพฤติกรรมเสี่ยงเนื่องจากสาเหตุ (Underlying causes) เหล่านี้หรือไม่?
  • เราจะใช้วิธีใดในการเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ what if และ talk to สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่?
  • เราเคยด่วนพิพากษาก่อนเลยหรือเปล่า?
 ภาพ : www.dir.coolclips.com


สรุป
อย่าด่วนพิพากษา เพราะถ้าเราไม่มีการค้นหาสาเหตุแอบแฝงก่อน อาจทำให้เราเข้าใจผิด เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์มักคิดในแง่ลบก่อนเสมอ (Negative thinking) ที่มากไปกว่านั้น การไม่ค้นพบสาเหตุแฝงที่แท้จริงยังทำให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าวซ้ำไป ซ้ำมา จนเกิดการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุได้ และผลที่ตามมาคือเราจะเห็นว่าพนักงานทำงานปลอดภัยก็แค่เฉพาะเวลาที่เราเข้ามาตรวจเท่านั้น แล้วตอนที่เราไม่ได้มาตรวจล่ะครับ?

ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
Source : www.pramoteo.com