วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม ตอนที่2





จากตอนที่แล้วเราทราบแล้วว่าน้ำท่วมทำให้เกิดโรคร้ายที่ตามมาเช่น บาดทะยัก ฉี่หนู ไทฟอยด์ ไวรัสตับอักเสบ ไข้หวัดชนิดต่างๆ สำหรับตอนที่ 2 นี้เราจะเพิ่มสิ่งที่ควรระมัดระวังขึ้นอีก คือ เชื้อรา (fungi)” ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ เชื้อราเกิดขี้นบนพื้นผิวของวัสดุ และโครงสร้างต่างๆที่ถูกทำลาย หรือปนเปื้อนจากน้ำท่วม หรือการเน่าของผัก ขยะ ซากต่างๆ เชื้อราสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้จากการหายใจเข้า แต่อย่างไรก็ตามเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายร้ายแรงนัก แต่บางชนิดก็ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ปฏิบัติงานฟื้นฟู ซ่อมแซมภายหลังภาวะน้ำท่วมที่อาจมีอาการแพ้ได้ เช่น หอบ หืด หายใจลำบาก ระคายตา หายใจมีเสียงวี๊ดๆ ในกรณีที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจะเกิดได้รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นหน้ากาก ถุงมือ และอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ให้น้อยที่สุด การสัมผัสนานๆและบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องและมีเหงื่อออกด้วยอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ผิวหนังได้ แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถบรรเทาลงได้โดยการทำความสะอาดร่างกายอย่างถูกวิธีด้วยน้ำอุ่น และสบู่อ่อนๆ แล้วเช็ดให้แห้ง



จำไว้ว่า

  • ต้องหลีกเลี่ยง เชื้อราที่เกิดจากต้นเหตุที่กล่าวมา
  • ใช้หน้ากากมาตรฐาน N-95 NIOSH
  • ทิ้งของเสียทั้งหมดที่ชำรุด เพื่อลดการติดเชื้อ ถ้าอันไหนไม่มั่นใจก็ให้ทิ้งไป
  • พื้นผิวใดที่มีราไม่มากนักให้ขัดออกด้วยน้ำอุ่น และน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ภายหลังเสร็จงานให้ล้างนิ้ว มือและหนังศีรษะด้วย
  • ถ้าพบว่าอาหารและน้ำดื่มมีการปนเปื้อนให้ทิ้งไป
สำหรับผู้ปฏิบัติงานให้พิจารณาสิงต่อไปนี้
  • ถ้าน้ำท่วมถึงขนาดที่ทำลายบ้านเรือนได้ ย่อมมีโอกาสที่เชื้อราเติบโตได้มากให้ปรึกษาบริษัทประกัน หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชื้อรา
  • ต้องสวมใส่หน้ากากมาตรฐาน NIOSH-approved Respiratory มาตรฐาน N-95 ตามข้อกำหนด ของ OSHA’s Respiratory Protection Standard (29CFR 1910.134) และสวมใส่ถุงมือยาง และแว่นตานิรภัย
  • กำจัดซากที่เปียกชื้น และมีเชื้อราโดยทิ้งในถุง และผูกให้เรียบร้อย หรือถุงที่ปิดฝามิดชิด
  • ถอด และทิ้งพวกวัสดุที่ทำงานสารอินทรีย์และมีพื้นผิวเป็นรูพรุน (porous organic materials) เพราะพวกนี้จะปนเปื้อนไปด้วยเชื้อราจำนวนมาก เช่น ฉนวน ระบบระบายอากาศ พรม เบาะ และที่นอน
  • ทำความสะอาดพวกวัสดุที่ไม่ทำจากสารอินทรีย์ (non-porous organic materials) ด้วยผงซักฟอก หรือคลอรีนเจือจาง
  • การใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อเหล่านี้ อย่าลืมสวมหน้ากาก NIOSH-approved ที่เหมาะสมและใช้คู่กับตลับกรองอากาศที่ถูกต้องตามชนิดของสารเคมี อย่าลืมแว่นตานิรภัย และถุงมือด้วยครับ
เรียบเรียงโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


Sources:
U.S. Department of Labor www.osha.gov.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น