วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การฟื้นฟูและทำความสะอาดภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม ตอนที่3

ภาพ : www.oknation.net

จาก 2 ตอนที่ผ่านมาเราได้คุยเกี่ยวกับโรคที่เกิดน้ำท่วม (flood water) และ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)ไปบ้างแล้ว ตอนที่ 3 นี้เรามาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกน้ำยาที่จะใช้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อกันดีกว่าครับ ผมขออนุญาตแนะนำวิธีการเลือกน้ำยาฆ่าเชื้อที่ดีให้นะครับ


คุณสมบัติของน้ำยาฆ่าเชื้อราที่ดีควรจะพิจารณาดังนี้
- สามารถทำลายเชื้อราได้รวดเร็วและหลายชนิด
- มีความคงตัวแม้อยู่ในสถาวะที่เป็นกรดหรือด่าง
- ประสิทธิภาพไม่ลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์
- ไม่กัดกร่อนพื้นผิว ( โลหะ พลาสติก ยาง )
- ไม่ระคายเคืองผิวหนัง เยื่อเมือก ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ไม่มีกลิ่นฉุน กลิ่นเหม็น
- ไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสีย
- ราคาเหมาะสม

ตารางเปรียบเทียบน้ำยาฆ่าเชื้อราชนิดต่างๆ

น้ำยาที่มีฤทธิ์อ่อน
ความเข้มข้น สูตรผสม
วิธีการใช้งาน
ประสิทธิภาพ/ข้อดี
ข้อเสีย
1.น้ำส้มสายชู
7 %
ใช้กระดาษเช็ด
ใส่ขวดสเปรย์ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วเช็ดออก
กำจัดได้ 80%
ฆ่าสปอร์ไม่ได้
กลิ่นฉุน
มีความเป็นกรด
2. Tea tree oil
2 ช้อนชา ในน้ำ2 ถ้วย
ใส่ขวดสเปรย์ แล้วเช็ดออก
ฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด
กลิ่นฉุน
ราคาแพง
3. Grapefruit seed extract
20 หยด ในน้ำ2 ถ้วย
ใส่ขวดสเปรย์ แล้วเช็ดออก
ไม่มีกลิ่น
ราคาแพง
น้ำยาที่มีฤทธิ์เข้มข้น
ความเข้มข้น สูตรผสม
วิธีการใช้งาน
ประสิทธิภาพ/ข้อดี
ข้อเสีย
1. แอลกอฮอล์
60-90%
เช็ดทิ้งไว้
5-10 นาทีแล้วเช็ด
ออกฤทธิ์รวดเร็ว
ราคาถูก
ไวไฟ, ระคายเคือง ตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ
2. โซเดียมไฮโปคลอไรค์ (สารประกอบคลอรีน)
1 ต่อ 10
ทาแล้วเช็ดออก
ฤทธิ์ในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวาง มีราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว
เสื่อมสภาพเร็วเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์
มีฤทธิ์กัดกร่อน
3. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
3-6%
ทาแล้วเช็ดออก
ไม่มีข้อมูล
ต้องทิ้งไว้นาน
4. ไอโอดอฟอร์
75 ppm
(ส่วนในล้านส่วน)
ทาแล้วเช็ดออก
ฆ่าสปอร์ได้
ต้องทิ้งไว้นานกว่า 10 นาท

คลิ๊กดูตารางฉบับเต็มครับ (Blog จำกัดพื้นที่ครับ)
จะเห็นได้ว่าน้ำยาฆ่าเชื้อโรคมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานในการพิจารณาตามความเหมาะสม ถึงแม้ว่าทางกระทรวงสาธารณสุขจะแนะนำให้ใช้หน้ากาก N95 ในการป้องกัน แต่ในส่วนตัวแล้วผมขอเพิ่มเติมว่า หน้ากากมาตรฐาน P2 ก็มีประสิทธิภาพที่เทียบเท่าและไม่ด้อยไปกว่า N95 ในกรณีที่เราไม่สามารถหาหน้ากาก N95 ได้ครับ เพราะคิดว่าอะไรที่คนต้องการด่วนมันมักจะขาดตลาด เช่นเดียวกันครับในยุโรปมีการใช้หน้ากากมาตรฐาน P2 แทน N95 ในการป้องกัน Avian flu และ Sars และวัณโรคครับ
มากไปกว่านั้นอย่าลืมว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำความสะอาดเชื้อราไม่ช้เพียงแค่ละออง (mist) จากเชื้อราที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่น้ำยาฆ่าเชื้อที่เราใช้เช็ดก็สามารถเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ด้วย เช่น แอกอฮอล์, โซเดียมไฮโปคลอไรค์ (Chlorox), น้ำส้มสายชู ดังนั้นหน้ากาก N95 หรือ P2 อาจจะไม่เพียงพอเสียแล้ว จึงจำเป็นต้องใช้ตลับกรองอากาศ (cartridges) ชนิดที่สามารถป้องกันไอสารอินทรีย์ (organic cartridge) สำหรับไอของแอลกอฮอล์ หรือป้องกันไอกรด (acid cartridge)ที่เกิดขึ้นของโซเดียมไฮโปคลอไรค์ และน้ำส้มสายชูด้วยครับ
หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องใช้เป็นหน้ากาก N95 หรือหน้ากากมาตรฐาน P2 ทำไมใช้ผ้าปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย (surgical mask) ไม่ได้หรือไง ผมขออธิบายดังนี้ครับว่าโดยปกติแล้วหลายประเทศจะยึดหลักตามคำแนะนำของหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ ขึ้นอยู่กับประกาศมาตรฐานของประเทศนั้นๆเป็นหลัก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือกใช้ตามมาตรฐานคำแนะนำของ CDC (Centers Diseases for Control and Prevention) และ WHO (World Health Organization) เป็นหลักครับเพราะเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื้อถือมากที่สุด
"ห่วงบ้าน แต่อย่าลืมห่วงตัวเองนะครับ"
เรียบเรียง โดย ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
Sources :
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- 203.155.220.217/dental/image/image/data/.../jintana.doc
- ภาพหน้ากากhttp://www.esafetythailand.com