วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใช้มือถือขณะขับรถ คุย แชท อันตรายมั้ย?



วันนี้นั่งดูรายการคิดเปลี่ยนโลกทางช่อง 5 ผมว่ามีประโยชน์มากแม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่อาจทำให้ชีวิตเราและผู้อื่นยาวนานมากขึ้น วันนี้รายการได้เชิญคุณเก๋ ชลลดา เมฆราตรี ดาราภาพยนต์ และพิธีกร มาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือในการขับขี่ ไม่ว่าจะพิมพ์ข้อความ แชท  คุยโทรศัพท์ ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรเพราะคุณเก๋เป็นเหมือนดาราหลายคนที่มีคนติดต่อมาทางโทรศัพท์ทั้งวัน แม้ว่าขณะที่กำลังขับรถก็ตาม
ในรายการมีข้อมูลที่กล่าวถึงในหลายประเทศที่ต้องการจะแก้ปัญหานี้ ยกตัวอย่างเช่น
  • ญี่ปุ่น อิหร่าน โปรตุเกส ห้ามใช้มือถือไม่ว่ากรณีใดๆ รวมถึงสมอลล์ทอล์ค หรือบลูทูธด้วย
  • ออสเตรเลียทำการวิจัยออกมาแล้วว่าการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น
  • อเมริกากำลังสร้างเครื่องตัดสัญญาณมือถือในรถขณะขับขี่ ให้ไม่สามารถใช้ได้เลย

สำหรับคนเมืองและคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชีวิตยุ่งทั้งวัน ขับรถ หัวเข่าหนีบพวงมาลัย มือจับข้าวใสปาก  บีบสิว ถอนขนจมูก ทามาสคารา แต่งหน้า ทาเล็บ ตัดเล็บ ทำผม  ซึ่งล้วนแต่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ในพริบตาทั้งชายและหญิง
ต้องระลึกไว้ว่า ทำแบบนี้ไมได้มีผลกระทบต่อคุณเพียงคนเดียว แต่คนอื่นๆ เช่น คนกวาดถนน คนทำสวน เด็ก สุนัข สัตว์ต่างๆ รถคนอื่น ก็มีโอกาศได้อุบัติเหตุในครั้งนี้ได้ ส่วนบ้านเราปรับกันเท่านี้ครับ 400 – 1000 บาท มันเทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น


ผศ.นพ.ปกรณ์ เจียระคงมั่น ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ร.พ. รามาธิบดี บอกว่า สมองส่วนหน้ามีความสำคัญในการ บังคับกล้ามเนื้อ จำเส้นทาง ตัดสินใจ แต่ถ้าเราแชทไปด้วยเป็นการเพิ่มงานให้สมองส่วนหน้าให้ทำงานมากขึ้นในเวลาเดียวกัน อะไรที่มันทำมากเกินไปความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้



เมื่อตาไม่มองเราก็ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น สมาธิไปอยู่ที่มือถือ


ถึงแม้ว่าตาจะมอง แต่ใจยังจดจ่อกับมือถือ จังหวะแวบไปดูก็มี


คำถามที่เป็นประโยชน์
  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราแชท หรือใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ หรือรถติดกำลังติด?
  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราเบรกไม่ทัน?
  • ถ้าคุณเสียชีวิตไป หรือได้รับบาดเจ็บ หรือชนคนตาย พ่อ แม่ พี่น้อง แฟน คนที่เรารักจะรู้สึกอย่างไร?
วิธีการป้องกัน
  • ถ้าใช้มือถือบ่อย แต่ต้องขับรถ ให้คนอื่นขับแทนจะดีกว่า
  • จอดรถในที่ที่ปลอดภัย แล้วจึงใช้มือถือ
  • มีสติและจดจ่อในการขับขี่ ตามองทางตลอด สมองคิดตัดสินใจในการขับ ไม่ขับเร็ว ช่วยเยอะเลยครับ
ตามหลักการของพฤติกรรมความปลอดภัย behavior based safety บอกไว้ว่าเมื่อใดที่เราละสายตาจากงานที่ทำ ขาดสติ สูญเสียการทรงตัว ผลที่ตามมาคือ "อุบัติเหตุ"  หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะครับ
ภาพประกอบจาก:  รายการคิดเปลี่ยนโลก ช่อง 5

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

www.pramoteo.com

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมื่อใดต้องใส่หน้ากาก


ปัญหาโลกแตกที่นายจ้างและลูกจ้างเถียงกันก็คือว่า "เมื่อใดต้องใส่หน้ากาก?" นายจ้าง หรือหัวหน้างาน หรือ จป.บางคนบอกว่าสารเคมีมันเข้มข้นไม่เกินมาตรฐานไม่ต้องใส่ แต่พอนายจ้างหรือแขกมาเยี่ยมชมโรงงานก็มักจะมีให้ใส่ครบ และตัวนายจ้าง หรือผู้บริหารบางคนเองก็มักจะใช้รุ่นที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าลูกจ้างที่ทำงานที่มีความเสี่ยงมากว่า...ถ้าเราเป็นลูกจ้างเราจะคิดอย่างไร ต้องเกิดการเปรียบเทียบแน่นอน แล้วความสามัคคีในองค์มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
เรามาดูที่ OSHA (Occupational Safety and Health Administration) กำหนดไว้ดีกว่า เพื่อใช้ในการตัดสิน ว่าลูกจ้างจำเป็นต้องสวมใส่หน้ากาก หรืออุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจให้เหมาะสมเมื่อใด OSHA กล่าวไว้ว่า เมื่อต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีระดับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ หรือที่ที่มีอันตรายจากฝุ่น ควัน ละออง ฟูม ก๊าซ ไอระเหย หรือสเปรย์ สารอันตรายเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง โรคปอด หรือโรคอื่นๆ หรือทำให้เสียชีวิตได้ เมื่อการป้องกันเชิงวิศวกรรมไม่เพียงพอที่จะลดหรือ กำจัดสารพิษปนเปื้อนในบรรยากาศการทำงานออกไปได้ หน้ากากจึงเป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้


ส่วนหน้ากากชนิดที่มีการส่งผ่านอากาศให้หายใจ (Supplied-air respirator) สามารถนำมาใช้ได้ในสภาวะที่ขาดออกซิเจน นอกจากนี้ในภาวะที่ขาดออกซิเจน หรือในสภาวะอันตรายอื่นๆในบรรยากาศอันตราย อัตราการเต้นถี่ขึ้นของหัวใจและอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งนำมาสู่ความสูญเสียหรือหายนะ ถ้าเกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างกำลังทำงานที่เสี่ยงอันตราย (At risk) หรือ ปีนบันได ทำงานในที่สูง ที่อับอากาศ หรืองานใดๆที่เป็นอันตราย ยิ่งจะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นไปอีก
ลูกจ้างจำเป็นต้องสวมหน้ากาก เมื่อการป้องกันเชิงวิศวกรรมไม่เพียงพอ (Inadequate of engineering control) ส่วนวิธีการที่จะควบคุมบรรยากาศที่ปนเปื้อนสามารถทำได้โดยการปกคลุม ระบายอากาศ หรือจำกัดพื้นที่บริเวณนั้น หรือ กระทำโดยให้ระดับความเป็นพิษของสารนั้นลดลง
หน้ากากมีข้อจำกัด (Respirator limitation) และไม่สามารถที่จะใช้แทนที่ได้ดีกว่าการป้องการเชิงวิศวกรรม (Engineering control) หรือควบคุมที่การทำงาน (Operation control) บางครั้งมันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ในการควบคุมหรือลดประมาณสารปนเปื้อนให้ต่ำกว่าค่ามาตรฐานด้านสุขภาพในการทำงาน (Occupational Exposure Limited) เช่น ระหว่างทำการซ่อมบำรุง ภาวะฉุกเฉิน หรือในขณะที่การป้องกันเชิงวิศวกรรมกำลังถูกติดตั้ง หน้ากากอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้
เมื่อการใช้หน้ากากได้ถูกระบุจำเพาะไว้ในวิธีการทำงาน (Operating instruction) การเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นดังต่อไปนี้
  • เขียนขั้นตอนจำเพาะในการทำงาน
  • การประเมินผลของรายการปฏิบัติ
  • การเลือกหน้ากากที่เหมาะสม ที่ได้รับรองมาตรฐานจาก NIOSH
  • การอบรม
  • การทดสอบความกระชับของหน้ากาก
  • การตรวจสอบ การทำความสะอาด การบำรุงรักษา และการจัดเก็บ
  • การประเมินทางการแพทย์
  • การเฝ้าระวังในการทำงาน
  • คุณภาพมาตรฐานของอากาศ



สรุป
  • การสวมใส่หน้ากากไม่ได้หมายความว่า ต้องสวมใส่เมื่อระดับความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในอากาศสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เท่านั้น เพราะร่างกายแต่ละคนมีความต้านทานไม่เท่ากัน
  • การป้องกันเชิงวิศวกรรมมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และต้องเป็นตัวเลือกแรกในการป้องกัน
  • การใช้หน้ากากทุกครั้งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพราะถ้าใช้ผิดประเภท ผิดวิธี อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ เป็นโรค หรือเสียชีวิตได้
  • การจัดทำโปรแกรมปกป้องระบบทางเดินหายใจ และอบรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สวมใส่หน้ากาก และผู้เกี่ยวข้อง
เขียนโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และวิทยากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย


อ้างอิง




วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อันตรายจากงานในโรงหลอม และ การหลอมโลหะ




ภาพ : www.nezavisne.com


คนงานหลายคนในโรงหลอมสัมผัสมลภาวะทางอากาศในการทำงาน เช่น. ควัน, ฝุ่น, SPM, RSPM, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ออกไซด์ของไนโตรเจน, ไฮโดรคาร์บอน และ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว, แคดเมียม, โครเมียม, สารหนุ และนิเกิ้ล การสัมผัสสารปนเปื้อนเหล่านี้เป็นระยะเวลาที่ยาวย่อมนานส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น โลหะหนัก ทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การแพร่กระจายของก๊าซและฝุ่นบางชนิดอาจเป็นสาเหตุอันดับแรกของอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน (Occupational health hazards)ในอุตสาหกรรมการหลอมโลหะและพื้นที่รอบๆ ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคฝุ่นจับปอด (Black lung), ไข้จากโลหะ, โรคปอดฝุ่นหินทราย (silicosis), โรคปอดจากการประกอบอาชีพ(pneumoconiosis) เป็นต้น
ภาพ : www.alha.org

ทั้งหมดนี้เป็นอนุภาคที่สามารถหายใจเข้าไปได้ อันตรายบางอย่างโดยทั่วไปเกิดจากการสัมผัสกับร่างกายและมีอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
  • ระคายเคืองตา
  • ปวดศีรษะ
  • ระคายเคืองคอ และจมูก
  • ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
  • ไฮโดรเจนซัลไฟด์, แอมโมเนีย และเมอแคปเทนส์ สามารถทำให้เกิดการความรำคาญในการได้กลิ่นแม้ว่าจะมีความเข้มข้นต่ำ
  • อุณภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความเมื่อยล้า และสูญเสียน้ำในร่างกายได้
  • อาการเรื้อรังของโรคปอดอักเสบ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, หอบหืด เกิดจากการหายใจก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์ และโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ เข้าไปในระดับที่ความเข้มข้นสูง
  • คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถเข้าสู่ฮีโมโกบินในเลือดได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดความทรมานต่อหัวใจและปอด
  • อนุภาคของฝุ่นทำให้เกิดโรคปอดที่เกิดจากฝุ่น ทราย, แอสเบสโซซิส ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอนุภาค และเส้นใย
  • สารบางตัวเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น PAH’s, Cr(VI) และ แคดเมียม
  • ไฮโดรเจนฟูลออไรค์ ทำให้เกิดโรคที่กระดูก (fluorosis) และเกิดรอยที่ฟันได้ (mottling of teeth)
  • โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว, แคดเมียม, ปรอท, โครเมียม, นิเกิ้ล, แมงกานีส สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ, ดูดซึมทางผิวหนัง, หรือการกลืนกินโดยผ่านทางห่วงโซ่อาหาร เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน และเรื้อรังได้
จำไว้ว่า : งานหลอมโลหะอันตรายต่อสุขภาพมากถ้าขาดมาตรการป้องกันที่ดีพอ

เรียบเรียงโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และวิทยากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย


References :
ภาพ
เนื้อหา