วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา สมุทรปราการ




ภาพ : www.greenpeace.org

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 57 ผมเดินทางไปบรรยายเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย และอุปกรณ์ป้องกัน ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอัญธานี เขตประเวศ กทม. พอเปิดประตูรถลงมา ตกใจมาก ทำไมปีนี้หน้านาวมันมาไวจัง แถวบ้านผมที่พระรามสอง เมื่อเช้านี้มันยังเป็นหน้าร้อนอยู่เลย แต่ที่นี่หมอกลงปกคลุม เต็มไปหมด แต่พอดมแล้ว มันแสบจมูกไม่สดชื่นเหมือนเดือนสุดท้ายของสิ้นปีที่แล้วมันแสบคอ แสบจมูกมาก 


ผมเคยเป็น จป. มาก่อน ดังนั้นเรื่องจมูกไม่ต้องห่วง ผมเป็นคนที่มีจมูกไวมาก บวกกับเป็นโรคแพ้อากาศด้วย ดังนั้นจมูกของผม จึงมีความเปียกชื้นตลอดเวลา ทำให้กลิ่นที่หายใจเข้ามาจะถูกความชื้นในจมูกดูดซับไว้ ทำให้ได้รับกลิ่นได้ชัดเจน รวดเร็ว และแม่นยำ

ส่วนหู คนทั่วๆไปจะได้ยินเสียงที่ความถี่ 20-2000 เฮิรตซ์ แต่สำหรับผมแล้วแม้กระทั่งเสียงที่มนุษย์ทั่วไปไม่ได้ยิน ผมยังได้ยินเลย บางทีเสียงไกลเป็นกิโลเมตร ผมยังได้ยินเลย และผมยังสามารถกระดิกหูเพื่อโน้มรับเสียงที่มาจากทุกทิศ ทุกทางได้อีกด้วย

หลายท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ คงกำลังสงสัยว่า ตกลงคนเขียนมันเป็นคนหรือตัวอะไรกันแน่วะ ผมขอยืนยันครับว่า...ผมเป็นคนปกติ...



ภาพ : www.naewna.com


เรื่องของเรื่องมันสืบเนื่องมาจากเย็นวันที่ 16. มี.ค. 57 ได้เกิดเหตุไฟไหม้บ่อขยะ เนื้อที่ 400 ไร่ ใน ต.แพรกษา จ.สมุทรปราการ โดยเพลิงได้ลุกลามอย่างหนักกินพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้เกิดควันปกคลุมไปรอบรัศมีหลายกิโลเมตร เป็นเหตุชาวบ้าน 800 กว่าครัวเรือน ต้องรีบเก็บข้าวของอพยพ ส่วนประชาขนที่อยู่ไกลออกไปก็รับผลกระทบลดหลั่นตามสัดส่วน แบ่งๆกันไปตามลำดับ
บ่อขยะเต็มไปด้วยสารพิษ สารไม่ดี สารที่เขาไม่เอาแล้ว เอามาทิ้งรวมๆกันเต็มไปหมด เมื่อมันถูกความร้อน หรือทำปฏิกิริยากันเอง ก็จะทำให้เกิดความร้อน หรือประกายไฟ ดังนั้นสิ่งที่ตามมาจะเป็นสิ่งอื่นใดไม่ได้ นอกจากการระเบิด และการลุกติดไฟ รวมถึงของแถมที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ เขม่า และสารพิษ

 
ภาพ : www.naewna.com

เขม่า คือ อนุภาคของแข็งที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์อันเนื่องมาจากการมีก๊าซออกซินเจนที่ไม่เพีงพอต่อการเผาไหม้ ทำให้เกิดสารประกอบที่เป็นไฮโดรคาร์บอนฟุ้งกระจายเต็มไปหมด

สารพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ที่น่ากลัวมากก็ คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซที่เป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) และสารเหล่านี้รวมๆกัน ทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก แน่หรือเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย และปวดมึนศีรษะ

 
ภาพ :www.news.sanook.com


จากผลการตรวจวัดเมื่อ 19 มี.ค. 57 ในรัศมี 200 เมตร. จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า
=> มีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 8 เท่า
=> มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า
=> มีก๊าซที่เป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) สูงกว่าค่ามาตรบาน 1 เท่า

จากประสบการณ์ของผม ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการปกป้องระบบทางเดินหายใจ จึงอยากแนะนำให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง จำเป็นต้องสวมหน้ากากเพื่อดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยของตนเอง โดยทำการป้องกันอันตรายจากเขม่า และก๊าซพิษเหล่านี้ ที่เป็นทั้งไอสารอินทรีย์ และไอกรด 

สำหรับประชาชนทั่วไป การป้องกันควรสวมหน้ากากดังต่อไปนี้


1. หน้ากากประเภทใช้แล้วทิ้ง

  

มาตรฐานขั้นต่ำที่แนะนำให้นำมาใช้คือ มาตรฐาน P1 และ N95 สำหรับกรองควัน และเขม่า โดยหน้ากากมาตรฐาน P1 สามารถกรองอนุภาคที่ขนาด 0.3 ไมครอนได้อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหน้ากากมาตรฐาน N95 สามารถกรองอนุภาคที่ขนาดเดียวกันได้อย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ และหน้ากากต้องมีผงคาร์บอนอยู่ด้านในของเส้นใย ที่สามารถป้องกันไอกรด และไอสารอินทรีย์ได้ 


2. หน้ากากประเภทไส้กรองเดี่ยว หรือไส้กรองคู่


 
ประกอบไปด้วยครอบหน้า, ตลับกรองอากาศชนิดมีผงคาร์บอนที่ป้องกันได้ทั้ง ไอกรด และไอสารอินทรีย์ และแผ่นกรองมาตรฐาน N95 รวมไปถึงฝาครอบ 

คำถามที่มีประโยชน์

1. ทุกวันนี้พวกเราได้แยกขยะกันได้ถูกต้องหรือไม่
2. หน่วยงานที่นำขยะที่เราแยก ได้นำไปกำจัดได้อย่างถูกต้องหรือเปล่า
3. กองขยะที่ไหนบ้างที่่กำลังปะทุ และกำลังจะเกิดซ้ำอีกครั้งแบบนี้ 
 


ขอให้ปลอดภัยทุกคนครับ 


ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

www.pramoteo.com

LINE : bbstrainer 


ข้อมูล และ ภาพประกอบจาก


และแหล่งอื่นๆจาก Internet