วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564

สารเคมี ต้องเก็บในขวดสารเคมี

              ภาพ : ทุบโต๊ะข่าว

ในกรณีของน้านงค์ ที่ดื่มน้ำยาล้างเครื่องเงินเข้าไป

ตอนนี้ฟื้นตัวแล้วครับ 

น้านงค์เปิดเผยว่า ตนเองเป็นคนชอบล้างเครื่องเงิน

วันนั้น พอล้างเครื่องเงินเสร็จ ก็เอาน้ำยาที่เหลือไปเก็บไว้ในขวดน้ำดื่ม แล้วนำไว้ในห้องน้ำ

ผ่านไปหลายวัน น้านงค์เข้าไปในห้องน้ำ เห็นขวดน้ำวางในห้องน้ำ 

เข้าใจว่าเป็นน้ำดื่ม จึงนำออกมา ไปวางรวมกับน้ำดื่มขวดอื่นๆ

แต่โชคร้าย ดันไปหยิบโดนขวดนั้นขึ้นมาดื่ม 

จึงเป็นเหตุที่ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ตามหลักการของความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีนั้น 


สาเหตุของการกลืนกินสารเคมี แบ่งเป็น 2 สาเหตุ

1. ตั้งใจกิน เพื่อฆ่าตัวตาย 
2. เผลอกินโดยที่ไม่รู้ตัว 

ในกรณีของน้านงค์นั้น เกิดจากการเผลอกิน โดยไม่รู้ตัว 

โดยสาเหตุเกิดจาก

1. นำสารเคมี ไปใส่ในขวดน้ำดื่ม ซึ่งไม่ใช่เป็นขวดใส่สารเคมีนั้นๆ

2. นำขวดน้ำดื่ม ที่มีสารเคมีนั้น ไปวางรวมกับขวดน้ำดื่ม

ก่อนหน้านั้น ก็มีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายๆกันคือ 

น้องคนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า 

วันก่อน เธอเอาน้ำยาล้างทำความสะอาด ใส่ขวดน้ำดื่ม แล้ววางไว้บนโต๊ะอาหาร

สามีมาเห็น ก็นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น

เมื่อน้องคนนี้กลับมาถึงบ้าน กระหายน้ำมาก เพราะนอกบ้านมันร้อน

จึงเปิดตู้เย็น หยิบขวดน้ำที่สามีเอามาไว้ในตู้เย็นมาดื่ม 

ปวดแสบ ปวดร้อน ต้องรีบไปล้างท้องกันที่ รพ. กันเลยทีเดียว

ตู้เย็นเก็บสารเคมีในห้องแลปก็เช่นเดียวกัน 

บางคน ก็ชอบเอาน้ำดื่ม เอาอาหารไปแช่รวมกัน   

แต่บางคน ไม่มีขวดเคมี ก็เอาขวดน้ำดื่มไปใส่สารเคมีแทน 

คนที่ชอบแช่ของกินในตู้เย็นตู้นี้เป็นประจำ ก็ไม่รู้ ก็หยิบขวดน้ำดื่มที่มีเคมีตัวนั้นมาดื่ม 

เพราะเข้าใจว่าคือ น้ำดื่มธรรมดา

ก็ต้องรีบนำส่ง รพ.เช่นเดียวกัน

ภาพ : แก้ว The Safety Coach Mug

สิ่งที่ได้เรียนรู้ก็คือว่า 

1. สารเคมี ต้องใส่ในขวดสารเคมี ถ้าไม่มีขวดสารเคมี ต้องติดฉลาก มีสัญลักษณ์ให้เห็นชัดเจน ว่าห้ามรับประทาน !

2. ไม่เก็บ หรือ วางสารเคมีรวมกับอาหารและน้ำดื่ม

3. สื่อสารกับคนในบ้าน และที่ทำงานให้ชัดเจนว่า 2 ข้อนี้เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

หรือ สั่งผ่าน Shopee

แจกอีบุ๊คฟรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น