วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

มาตรการความปลอดภัยบริเวณ บ่อบำบัดน้ำเสีย ที่อับอากาศ



ผมได้มีโอกาสไปพูดทอล์คโชว์เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย (Confined spaced talk show) ที่บริษัทแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 3 ชม. อันเนื่องมาจากการตื่นตัวกันทั้งประเทศ จากกรณีที่มีข่าวผู้เสียชีวิตในที่อับอากาศถึง 5 คน ในบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่ง

ผมกราบขออภัยญาติๆ และผู้เกี่ยวข้องของผู้เสียชีวิต ที่ได้กล่าวถึง ผมไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดีใดๆ เพียงแต่มีเจตนาที่อยากให้กรณีแบบนี้เป็นกรณีสุดท้ายๆจริงๆ

สรุปสิ่งที่พูดคุยดังต่อไปนี้นะครับ

3สิ่ง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต จากพนง.สอบสวน

1. ไม่มีการติดป้ายที่เขียนว่า "ที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า" บริเวณปากทางเข้าออก ทุกหน ทุกแห่ง อย่างเปิดเผย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

2. ไม่มีการแจกคู่มือความปลอดภัยอย่างทั่วถึง

3. ไม่มีสิ่งปิดกั้น มิให้ผู้ใดตกลงไปในที่อับอากาศที่มีลักษณะ ช่อง โพรง หลุม ถังเปิด หรือ มีลักษณะคล้ายกัน

ดังนั้น สิ่งที่สถานประกอบการจำเป็นต้องทำก็คือ การปฏิบัติตามกม.ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอย่างเคร่งครัด และ ทำการทบทวนขั้นตอนการทำงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดไว้

หลายๆที่เริ่มที่จะทำการปรับปรุง และป้องกันอันตรายบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสียกันมากขึ้นตามมาตรการต่างๆดังต่อไปนี้



ป้ายความปลอดภัย

1. ป้ายเตือน “ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไป”  โดยไม่ได้ขออนุญาต

2. ติดตั้งป้ายเตือน “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” บริเวณปากทางเข้าออกที่อับอากาศ ทุกหนทุกแห่ง

3. ติดป้ายบนท่อต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ชี้บ่ง ทิศทาง และสารที่อยู่ภายใน

4. มีป้ายบอกระดับน้ำหนักที่รับได้สูงสุดบนแพลตฟอร์ม ของพื้นที่บำบัดน้ำเสีย



sorce : www.3m.com

การป้องกันการตก

1. ทำราว และ รั้ว (Rail) กันตกตามมาตรฐาน

2. ทำบันได (Ladder) ถาวร สำหรับใช้ในการปีนขึ้นลง เพื่อเข้าไปปฏิบัติงานภายในบ่อบำบัด

3. ทำจุดยึด (Anchor points) สำหรับเกี่ยวกันตก ในกรณีที่ต้องการเอื้อม หรือ เสี่ยงต่อการตกหล่น

4. สวมเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวกันตก (Full Body Harness) ทุกครั้ง เมื่อต้องลงไปในที่อับอากาศ และเกี่ยวกับจุดยึด

5. ติดเทปกันลื่น (Safety Walk) ในจุดที่มีโอกาส พลัดตก ลื่นล้ม



source: http://www.mspool.com

อุปกรณ์ฉุกเฉิน

1. ห่วงชูชีพ (Tire floating)

2. ไฟฉาย

3. ถังดับเพลิง

4. ถังอากาศหายใจ (SCBA)

5. เครื่องวัดก๊าซ

ความปลอดภัยในการเข้าพื้นที่

1. กำหนดรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงจะเข้าพื้นที่ได้

2. บุคคลอื่นที่นอกเหนือจากรายชื่อที่ได้รับอนุญาต ต้องผ่านการอบรมความปลอดภัยในพื้นที่นี้ก่อน และ ต้องมีเจ้าของพื้นที่ควบคุมดูแล ความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด

3. สวมเสื้อชูชีพ (Life jacket) ทุกครั้ง เมื่อเข้าพื้นที่ ในกรณีเดินสำรวจ หรือ ปฏิบัติงานด้านบนบ่อบำบัด

4. ผู้ไม่เกี่ยว ห้ามเข้าในบริเวณบ่อบำบัดเด็ดขาด เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามหัวข้อที่ 2



source : กรุงเทพธุรกิจ

มาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ

1. ตรวจวัดบรรยากาศ เพื่อเช็คระดับปริมาณสูงสุดที่อาจเป็นบรรยากาศอันตรายได้ เป็นการเฝ้าระวัง

2. มีแผนฉุกเฉินในกรณีที่มีผู้ตกลงไปในที่อับอากาศ

3. คู่มือความปลอดภัย ควรมีเพิ่มเติมแผนฉุกเฉินในกรณีที่มีผู้ตกลงในที่อับอากาศ

4. ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับหน่วยงานกู้ภัยภายนอก

5. ทำการทบทวน แผนงานต่างๆปีละ 1 ครั้ง


ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

ติดต่องานอบรม

www.pramoteo.com
Facebook : The Safety Coach : BBS 
LINE@ : @thesafetycoach

ติดต่ออบรมโทร 0896784547 หรือ 0859200710



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น