วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

แนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 

เรื่องแนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

สาระสำคัญ

อนุญาตให้สอน ในรูปแบบออนไลน์ได้ แต่ต้องมี การสื่อสารกัน ซักถามกันได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต้องมีเอกสารในการฝึกอบรม มีการทดสอบ มีการกำหนดจำนวนผู้รับการอบรม ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

มีวิทยากร ที่ได้รับการรับรอง 

มีการบันทึกเสียง หรือ บันทึกในรูปแบบของวีดีโอ 

ส่วนภาคปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตามจริง แล้วต้องอยู่ในมาตรการ การป้องกันการระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019

หัวข้อที่อบรมได้ก็คือ จป. ระดับต่างๆ คปอ. อับอากาศ ดับเพลิง และ ไฟฟ้า

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach Podcast


ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

พี่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัย ผมไม่เอาด้วยหรอก


พี่ทำผิดกฎหมายความปลอดภัยแบบนี้ ผมอยู่ด้วยไม่ได้หรอก!

ผมมีโอกาสได้คุยกับ จป. และ นักสิ่งแวดล้อมหลายคน 

สิ่งที่เขาอึดอัด และชอบระบายให้ผมฟัง คือ นายจ้างทำผิดกม.ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 

เขาก็เตือนแล้ว บอกแล้ว บอกจนปากจะยาวถึงใบหูแล้ว แต่นายจ้างทำตัวเหมือนหูดับ ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี?

พี่คนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า

ที่โรงงานเก็บสารเคมีตัวหนึ่ง ปริมาณมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 10 เท่า

ผมแจ้งแล้ว บอกแล้ว แต่เขาก็ไม่แก้ปัญหาอะไร

เขาบอกว่าต้องซื้อเป็นปริมาณมากๆ จะได้ราคาถูก และถ้าสั่งมาน้อยๆ ของก็ส่งมาไม่ทันใช้ 

มากไปกว่านั้น ดึกๆยังปล่อยน้ำเสีย อากาศเสีย ออกมาสู่ชุมชน เลวจริงๆ (เขาสบถ)

ตอนนี้ผมรอจังหวะอยู่ ได้งานใหม่เมื่อไหร่ ผมไปแน่ๆ

ไม่ใช่ว่าผมละเลย หรือ ขาดจรรยาบรรณนะ แต่ผมทำเต็มที่แล้ว แต่เขาไม่สนใจ

มันเหมือนที่อาจารย์บอกเลยครับ

"เมื่อไหร่ก็ตาม ที่นายจ้างหรือฝ่ายบริหาร ไม่สนับสนุนเรื่องความปลอดภัย" 

เมื่อนั้น คนที่เป็นลูกจ้างหรือชุมชนก็ย่อมได้รับความเดือดร้อน 

ตามหลักการของ BBS

หลายคนแนะนำ ให้ไปแจ้ง สวัสดิการฯมาตรวจ 

ผมก็เคยคิดนะ แต่ไม่กล้า

ผมก็ไม่กล้าเนรคุณ ที่เขารับผมเข้ามาทำงาน ผมไม่กล้าทำร้ายเขา หรอกครับ

ผมเชื่อว่า จป.หลายคน ก็อยากจะแจ้ง แต่จะมีสักกี่คนที่กล้าทำ

เป็นคนดี มันยากจริงๆนะครับ

ในบทบาทของจป. หรือ นักสิ่งแวดล้อม เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร?

เมื่อนายจ้าง หรือ ฝ่ายบริหารไม่ให้การสนับสนุน

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ 

The Safety Coach

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
#จิตสำนึกความปลอดภัย
#อบรมBBS

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

Stop Work Authority


5 ขั้นตอนในการใช้ 

Stop Work Authority หรือ SWA


SWA เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการป้องกันอันตราย และ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำงาน


OHSA แนะนำว่า ทุกพื้นที่ในการทำงาน ควรจะมีการทำเรื่องของ SWA เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับความปลอดภัยในการทำงาน


แต่น่าเสียดายที่หลายแห่ง ไม่ได้นำหลักการของ SWA มาใช้ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหลายครั้ง


ในบทความนี้จะพูดถึง วิธีง่ายๆ 5 ขั้น  ที่เรียกว่า SAFE System


Stop work

Asses the situation

File a report

Eradicate the hazard

Resume


Stop work- เมื่อใครก็ตาม ที่พบการกระทำ หรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยในการทำงาน เขาสามารถที่จะใช้อำนาจหน้าที่ ในการหยุด และแก้ไขให้ปลอดภัยได้


Asses the situation- ทำให้แน่ใจว่ามีความปลอดภัย นำคนที่มีความเสี่ยงออกนอกพื้นที่ และรายงานอุบัติการณ์ให้หัวหน้างานรับทราบ


File a report- ใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่มี เพื่อช่วยให้การบันทึก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


Eradicate the hazard- สภาพแวดล้อม หรือ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย จะต้องถูกกำจัดออกไป ตามแผนที่อยู่ในแบบฟอร์มนั้นๆ และจะต้องได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามีความปลอดภัย


Resume- เมื่ออันตรายที่ได้บันทึกถูกกำจัดออกไป หรือ ทำให้ถูกต้องแล้ว ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องถูกนำมารับการอบรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Action อะไรที่ต้องทำบ้าง


สุดท้าย ทั้งหัวหน้างาน และ ผู้จัดการ  พนักงานทุกคน จำเป็นต้องปฏิบัติตาม SWA และ แก้ไขให้มันถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดในอนาคต


SAFER เทคนิคนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆที่ใช้ได้จริง ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

ขอบคุณ : onsitesafety

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
#จิตสำนึกความปลอดภัย
#อบรมBBS

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี









ความปลอดภัยในการทำงาน แก้ได้


วิธีแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ไม่ได้มีแค่คำตอบเดียว

เจ้าของร้านสุกี้แห่งหนึ่ง เคยเจอประสบการณ์ไฟไหม้ร้านตัวเอง เนื่องจากเคยใช้ถังแก๊ส ในการต้มหม้อสุกี้ 

จึงเปลี่ยนมาเป็น หม้อสุกี้ที่ใช้ไฟฟ้าแทน 

ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวอีกเลย  

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ "น้ำจะเดือดช้ามาก" 

ลูกค้าหายหมด รอไม่ไหว บางคนแทบจะเป็นลม หน้ามืด ตาลาย เพราะความหิว โมโหหิวบ้างก็มี

ถ้าเป็นเรา หรือ คนส่วนใหญ่ก็มักจะแก้ปัญหาเหมือนๆกันคือ "เปลี่ยนหม้อ" ที่มีประสิทธิภาพที่มันเร่งความร้อนได้เร็วขึ้น

แต่หม้อประเภทนี้ราคาแพงต้นทุนที่ร้านก็สูงขึ้น 

เขาจึงแก้ปัญหา โดยต้มน้ำในครัวให้ร้อนก่อน แล้วใส่เป็นกาใบเล็กๆ เอามาเทในหม้อสุกี้ ที่โต๊ะของลูกค้า

ปรากฏว่ารอไม่นาน น้ำก็เดือดแล้วปัญหาที่มีก็หมดไป ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

การแก้ปัญหา "มิได้มีเพียงแค่คำตอบเดียว"

ในเรื่องของความปลอดภัยนั้น 

ถ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตาม คำตอบไม่ได้มีเพียงแค่ การใช้กฎหมายบังคับเท่านั้น 

เรายังมีวิธีการ ฝึกอบรม การโค้ช การจัดกิจกรรมส่งเสริม  รวมถึงการชื่นชมให้กำลังใจ ก็สามารถแก้ปัญหาให้ได้

ที่โรงงานมีเสียงดัง หลายคนบอกให้ใส่เอียปลั๊ก 

แต่จริงๆแล้ว เราสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการเพิ่มระยะห่าง และ ให้ทำงาน หมุนเวียนกัน หรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดของเสียงดังก็ได้

ถ้าทำงานแล้วเครียดถูก"หัวหน้างี่เง่า" ด่าทุกวัน 

วิธีแก้ปัญหา ไม่ได้แค่มีแค่คำตอบเดียวคือ "การลาออก"

เราสามารถสร้างปัญหาให้มากขึ้น 

แล้วทำให้คนที่ต้อง"ลาออก"ไม่ใช่เรา แต่เป็น"หัวหน้า"ของเรา ก็เป็นไปได้ 

แต่อันนี้ "ไม่แนะนำ" นะครับ

วิธีแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ไม่ได้มีแค่คำตอบเดียว

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
#จิตสำนึกความปลอดภัย
#อบรมBBS

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

6 Keys to Success of Safe Behavior

6 Keys to Success of Safe Behavior

1. นายจ้างให้ความสำคัญ
2. ทีมงานมาจาก อาสาสมัคร มากกว่า ถูกบังคับ
3. ลูกจ้างได้รับการอบรม
4. ฉลอง เมื่อประสบความสำเร็จ
5. บอกถึงเบื้องหลังของความสำเร็จ ให้ทุกคนทราบ
6. ตั้งเป้าหมายความปลอดภัยใหม่ ให้ท้าทายกว่าเดิม

ผมมีโอกาสได้พูดคุยหลายๆที่ ที่ทำเรื่องของความปลอดภัย จนประสบความสำเร็จ จึงสรุปเบื้องหลังความสำเร็จมาให้ครับ

1. นายจ้างให้ความสำคัญ

บริษัทจะดีก็เพราะผู้นำ บริษัทจะพังก็เพราะผู้นำ ดังนั้นผู้ตามจะไปทางไหน ล้วนขึ้นอยู่กับผู้นำ ถ้าผู้นำให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอย่างแรงกล้า ผู้ตามก็ไม่ต่างกัน

2. ทีมงานมาจากอาสาสมัคร มากกว่าถูกบังคับ

แรงขับมันแตกต่างกัน คนที่อยากทำ กับถูกบังคับให้ทำ ผลลัพธ์ ความสุข ความสนุกที่ได้มันแตกต่างกัน พวกที่ถูกบังคับให้ทำ จะเฉาก่อน 

แต่พวกที่อยากทำ จะมีกรอบความคิดที่พัฒนาได้ (Growth Mindset) มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลา ความปลอดภัยก็จะไม่เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ

3. ลูกจ้างได้รับการอบรม

องค์กรที่ยั่งยืน ไม่ต้องรอนับวันปิดบริษัท จะแบ่งผลกำไร 3 % มาพัฒนาคน แต่องค์กรที่มองแต่ผลกำไร งบส่วนนี้จะมีให้แค่หัวข้ออบรมที่กฎหมายบังคับ 

ไม่มีทางหรอกที่ไอโฟน จะเกิดจากการใช้คนห่วยๆมาทำงาน ความปลอดภัยก็เช่นกัน ถ้าไม่รู้เรื่องความปลอดภัย ก็ไม่เกิดความปลอดภัย

4. ฉลองเมื่อประสบความสำเร็จ

มนุษย์จะจดจำการด่า หรือ การถูกลงโทษมากกว่า รางวัล หรือ คำชื่นชม 5 เท่า 

ดังนั้นการฉลองต้องจัดให้หนัก จัดให้เต็ม แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องสิ้นเปลือง และที่สำคัญต้องขอบคุณทีมงาน และ พนักงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อย่างจริงใจ

5. บอกถึงเบื้องหลังของความสำเร็จให้ทุกคนทราบ

Repetitive is mastery การทำงานอะไรซ้ำๆ จะทำให้เรา เป็นผู้เชี่ยวชาญ อะไรที่ทำแล้วส่งผลให้เกิดความปลอดภัย ต้องแจ้งให้ทุกคนทราบ 

เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า เพราะทำแบบนี้ ผลลัพธ์จึงเป็นแบบนี้ จะได้เกิดการทำซ้ำ

6. ตั้งเป้าหมายความปลอดภัยใหม่ ให้ท้าทายกว่าเดิม

จะทำอะไรต้องเอาความสนุกเป็นตัวตั้ง เพื่อป้องกันการหมดพลังในการทำงาน 

การตั้งเป้าหมายให้ท้าทายกว่าเดิมในเรื่องของ Neuroscience หรือ ประสาทวิทยา บอกไว้ว่า จะทำให้สมองเกิดความกระตือรือร้น และ หลั่งสารสุขออกมา ทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น 

ยกเว้นสถานการณ์ของ แมนเชสเตอร์ยูไนเตต ตอนนี้...

สำคัญมากๆก็คือ
 
คนที่เป็น "ผู้นำ" แต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือ "ผู้ตาม" 

ถ้าผู้นำเปรียบเสมือนเรือ  ผู้ตามก็เปรียบเสมือนน้ำ 
น้ำทำให้เรือลอยได้ แต่น้ำก็ทำให้คนจมได้ เช่นเดียวกัน 

ต้องพึ่งพาอาศัยกัน

#ผู้นำด้านความปลอดภัย
#KeysSucessofSafeBehavior
#SafetyLeadership

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี

ความปลอดภัย BBS

การทำเรื่องของความปลอดภัยให้มันประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ไกลกว่า การจัดการความปลอดภัยแบบเดิมๆ หรือที่เรียกว่า Tradinal safety และ Engineering control 

Traditional Safety  เป็นการจัดการความปลอดภัยแบบเดิมๆ เช่น ออกกฎ ออกกฎหมาย แล้วบังคับให้ปฏิบัติ หรือ วัดผลความปลอดภัยเพียงแค่ จำนวนสถิติอุบัติเหตุที่ลดลง 

Engineering Control เป็นควบคุมด้านวิศวกรรม หรือ ที่แหล่งกำเนิด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ 

ทำไมการจัดการความปลอดภัย จึงต้องไปไกลกว่า 2 สิ่งนี้

เพราะว่า เรื่องของ "พฤติกรรมเสี่ยง" เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้สูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ 

มนุษย์เรามีการเปลี่ยนแปลง อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ตลอดเวลา หมายความว่า พฤติกรรมก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย 

แต่มิได้หมายความว่า ให้เลิกทำ 2 สิ่งนี้ เราต้องให้ทำควบคู่กันไป แต่ให้โฟกัสในเรื่องของพฤติกรรมความปลอดเป็นหลัก 

เรามักจะเชื่อเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องมาจากการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่อยู่ภายนอก เช่น บังคับ ขู่ ลงโทษ 

แต่จริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แท้จริง จะต้องเกิดจากการที่เจ้าตัวยอมรับ ที่จะเปลี่ยน มากกว่า ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง

หากเขารู้สึกว่า เขาทำความปลอดภัยเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อไม่ให้ถูกลงหมายกฎหมายลงโทษ 

อันนั้นเขาทำเพื่อคนอื่น และ มาจากภายนอก ถูกบังคับ ไม่ได้ยอมรับที่จะทำ แรงขับมันน้อย

แต่หากทำความปลอดภัย เพื่อชีวิตและสุขภาพของ ตนเอง แรงขับมันมันจะมาก

ผมเคยถาม คนที่ทำ OHSAS18001 เขาบอกว่า ทำไม่ยาก แต่การที่รักษาไว้ให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เหมือนตอนที่ขอการรับรอง นั้นยากมาก

สาเหตุเพราะ เขาทำเพื่อคนอื่น  ทำด้วยความรู้สึกกลัว "ทำเพราะโลกภายนอกกระทบ ไม่ได้ทำจากโลกภายในที่สะเทือน" ว่าฉันต้องการความปลอดภัยจริงๆ

มนุษย์เราทุกคน ถ้ารู้สึกว่าอยากจะทำอะไร แล้วตัวเองได้ผลประโยชน์ เขาจะลงมือทำเช่น ได้เงิน ได้บ้าน ได้โบนัสพอได้แล้วก็หยุดทำ ถ้าไม่มีรางวัลอีก

แต่ในเรื่องความปลอดภัยนั้น แตกต่างกัน 

การที่พนักงาน จะปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยยั่งยืน โดยที่เราไม่ต้องไปบังคับนั้น มันมาจาก ความรู้สึกที่แท้จริงว่า ความปลอดภัย มีความสำคัญชีวิตอยากขาดไม่ได้

ในยุคโควิด-19 ตอนนี้ ทำไมคนไทยเราจึงหน้ากาก ถึงแม้ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ที่เราสวมใส่ เพราะเรามองว่าชีวิตและความปลอดภัยมีความสำคัญไง

สิ่งที่จะช่วยให้เขาเห็นความปลอดภัยนั้นสำคัญคือ คือ "การให้อบรม การโค้ช การให้ลงมือทำ การติดตามผล และให้รางวัล หรือ กำลังใจ"  

ความปลอดภัยเริ่มต้นที่ภายใน ไม่ใช่ภายนอก

ถ้าจะทำให้ความปลอดภัยประสบความสำเร็จ ต้องไปให้ไกลกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ และโฟกัสที่พฤติกรรมเป็นหลัก


พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ BBS

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

The Safety Coach

www.pramoteo.com



ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

จบอาชีวอนามัยฯมา ไม่ต้องเป็นจป.ก็ได้

ในโลกปัจจุบัน หลายคนทำงานไม่ตรงกับสาขาที่จบมา 

บางสาขาจบมา 50 คน คงเป็นไปไม่ได้ ที่คน 50 คน จะทำอาชีพที่ตัวเองจบมา เหมือนกันทุกคน

เพราะทุกคน ล้วนเกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ที่ติดตัวมาต่างกัน

แต่ด้วยกลไกทางการศึกษาและสังคม ทำให้เรายึดติด และเชื่อว่า เราเรียนด้านนี้มา เราต้องทำงานด้านนี้ 

ซึ่งจริงๆแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ 

ล้วนทำใน "สิ่งที่ตนเองรัก" 

หรือ เมื่อเขาเห็นโอกาสใหม่ๆ แล้วตัดสินใจ รีบพัฒนาตัวเองให้ชำนาญในสิ่งนั้น จนสิ่งนั้นกลายเป็นสิ่งที่รัก

เขาก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

น้องคนหนึ่ง 

สมัยฝึกงานเป็นจป. ในโรงงาน เธอฝึกงานไปเพียงไม่กี่อาทิตย์ ก็รู้เลยว่า ตัวเองไม่ชอบ 

จึงตั้งเป้าหมายว่า จบมาแล้วจะไปสมัครงานอื่น แล้วมองว่างานขายเป็นงานที่ตนเองชอบ และมีความก้าวหน้าที่ดีแน่ๆ ถ้าตั้งใจทำ 

สุดท้ายก็ไปเป็นฝ่ายขาย แล้วก็เปิดกิจการเป็นของตัวเองในอีกไม่กี่ปีถัดมา

พี่คนหนึ่ง 

เป็นจป.ก่อสร้าง ก็ชอบงานจป.ก่อสร้างดีนะ 

แต่เนื่องจาก อยู่กับผู้รับเหมา บ่อยๆ ก็เริ่มเห็นช่องทางว่า

เราน่าจะทำรับเหมาเองได้ ปริญญาโท ด้านเซฟตี้ที่เรียนอยู่ ก็ไม่เรียนแล้ว ทิ้งเลย

เพราะตอนนี้เห็นโอกาส ได้กลับไปบ้านเกิด จึงบินกลับบ้านต่างจังหวัดไปทำรับเหมาก่อสร้าง

โดยเอาความรู้ที่สะสมมาจากการเป็นจป.และรู้จักกับผู้รับเหมาหลายเจ้า บวกกับความรู้การตลาดที่ตนเองมี 

ทำธุรกิจก่อสร้างบ้านจัดสรรหลายโครงการ

ตอนนี้ ไม่น่าจะเรียกว่า "โคตรรวย" แต่น่าจะเรียก "รวยกันทั้งโคตร" 

ลูกเมียอยู่สบาย 

คนเราไม่จำเป็นต้องทำงานตามที่เราเรียนมาก็ได้ 

ถ้าเราเจอในสิ่งที่รัก ที่สร้างอนาคตได้ 

หรือ เห็นโอกาสแล้วทำตนให้เชี่ยวชาญในสิ่งนั้น มันก็กลายจะเป็นสิ่งที่รัก 

แล้วเราก็จะประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

จบอาชีวอนามัยฯมา ไม่จำเป็นต้องเป็นจป.ก็ได้

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

แจกอีบุ๊คฟรี