วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กฎกระทรวง 21(3) จปว ไม่ใช่ใครก็ได้

🔥 ย่อยมาให้ครับ

คนที่จะเป็น จป.วิชาชีพได้
ตามร่างกฎกระทรวง 21(3) 

1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ป.ตรี 
2. มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ในสถานประกอบการตามบัญชี 1 หรือ 2 
3. ผ่านการอบรมหลักสูตร จป.วิชาชีพ 
4. ผ่านการประเมิน ภายใน 5 ปี  นับตั้งแต่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้

📌 ต้องผ่านคุณสมบัติทุกข้อ

ซึ่งแน่นอน น้องๆที่กำลังจะจบ หรือ คนที่จบสายตรงมา ส่วนใหญ่คงจะไม่พอใจ โดยเข้าใจตรงกันว่า... 

คนที่จะเป็น จป.วิชาชีพได้ คือ 

จบ ป.ตรีมา + ทำงาน 5 ปี + ได้ อบรมจปว + สอบผ่าน
= เป็น จปว ได้ทันที 

มีศักดิ์ศรี และ คุณสมบัติเท่าเทียมกันกับคนที่จบมาโดยตรง

ก่อนหน้านั้น ก็มีการคัดค้าน ไม่เห็นด้วย จากมหาวิทยาลัย 42 แห่ง  เมื่อปี 2561 ในข้อ 13(4)

เกี่ยวกับร่างกฎกระทรวง ฯ 

👉 โดยให้เหตุผลว่า 

1) หลักเกณฑ์/หลักสูตรการอบรมอาจไม่เข้มข้นและไม่ได้มาตรฐาน 

2) ผู้แทนมหาวิทยาลัยยืนยันว่า จป.วิชาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงานไม่ได้ขาดแคลน เนื่องจากในแต่ละปีมหาวิทยาลัยผลิตออกมาอย่างเพียงพอ 

3) ไม่เป็นธรรมต่อนักศึกษาที่เรียนหลักสูตร จป.โดยตรง 

4) ไม่ต้องการให้มี 2 มาตรฐานระหว่าง จป.ที่จบหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยตรงและ จป.ที่มาจากการอบรม 

โดยได้เสนอทางแก้ กรณียกเลิก ข้อ 13(4) 

👷 เพื่อนๆมีความคิดเห็น กันอย่างไรบ้างครับ?

ซึ่งการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และ เป็นข้อเท็จจริง 

จะมีส่วนสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับแรงงาน และ ประเทศชาติครับ

😊 ขอความคิดเห็นอย่างมีสตินะครับ 
งดใช้ความรุนแรงทางถ้อยคำ

#จปวไม่ใช่ใครก็ได้
#คัดค้านกฎกระทรวง21(3)
#ความปลอดภัยในการทำงาน

www.pramoteo.com

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564

แท่นขุดเจาะ BP ไฟไหม้ Deepwater Horizon

                  ภาพจาก : DW

กรณีศึกษา Deepwater Horizon แท่นขุดเจาะน้ำมัน BP ระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อ 20 เม.ย. 2010

มีผู้เสียชีวิต 11 ราย มีน้ำมันรั่วไหลสู่ทะเลทั้งหมด 4.9 ล้านบาร์เรล ยาวนาน 87 วัน กระจายวงกว้างไปถึง 40 ไมล์จากจุดเกิดเหตุ มูลค่าเสียหายมากกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ US

นก 800,000 ตัว   เต่า 65,000 ตัว  ปลาวาฬและปลาโลมา 1,400 ตัว

ซึ่งอาจเป็นเพียงแค่ส่วนน้อย เพราะเราคงไม่สามารถลงไปเก็บข้อมูลใต้ทะเลลึกได้

สาเหตุเกิดจาก 

การขุดเจาะบ่อน้ำมัน ในอ่าวเม็กซิโก ที่ชื่อว่า Macondo เป็นหลุมลึก และขุดเจาะยาก บวกกับสภาพดินและโคลน ใต้ดินเป็นรูพรุน มีความแข็งแรงต่ำ ไม่เอื้ออำนวยในการขุดเจาะ หรือ เป็นที่ๆคนงานเรียกกันว่า บ่อนรก

BP จึงต้องนำอุปกรณ์แท่นขุดเจาะที่มีประสิทธิภาพสูงชื่อว่า “Deepwater Horizon” 

แท่นขุดนี้  สามารถขุดเจาะได้ลึกถึง 23,400 ฟุต และเคยเจาะทำลายสถิติ ขุดเจาะได้สูงสุดถึง 35,055 ฟุต ใน ปี2009

แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ตามสภาพที่ได้กล่าวไป  จึงทำให้แผนงานล่าช้ากว่ากำหนดถึง 5 เดือน

ซึ่งทุกนาทีที่เลื่อนออกไป ย่อมหมายถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายได้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่กำลังฟื้นตัวสูงขึ้น  กดดันให้ BP พยายามเร่งรัดการขุดเจาะ

ด้วยเหตุนี้ 

พวกเขาจึงมองข้ามเกี่ยวกับความปลอดภัยไปหลายด้าน

ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณรอยรั่วในหลุม, ปัญหาแรงดันอากาศสูง, อุปกรณ์ขาดการบำรุงรักษา

รวมทั้งพนักงานบางราย ยังได้กรอกข้อมูลปลอม เพื่อให้ผ่านผลทดสอบการขุดเจาะอีกด้วย

จนกระทั่งในวันที่ 20 เมษายน ปี 2010

ก๊าซธรรมชาติที่ปะปนอยู่ในแหล่ง ได้ถูกแรงดันผลักขึ้นมาข้างบนแท่น ผ่านรอยรั่วตามชั้นหิน

และได้ทำปฏิกิริยากับอากาศ จนเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง อันนำไปสู่การ

เกิดโศกนาฎหกรรมดังกล่าว

ศาลสหรัฐฯ ได้ตัดสินให้บริษัทมีความผิด 14 คดี

และสั่งปรับเงินทันที 143,000 ล้านบาท รวมทั้งต้องชดเชยค่าใช้จ่ายกำจัดคราบน้ำมันในทะเลด้วย

ทั้งๆที่ ระบบรักษาความปลอดภัยนั้นถือได้ว่าดีพวอเตอร์ฮอไรซันทำได้ดีมาก เพราะว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันแห่งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีความสูงถึงร่วม 400 ฟุต แต่มันก็มีความแข็งแกร่งและมีระบบป้องกันภัยอันยอดเยี่ยม 

มีทั้งอุปกรณ์ที่จะช่วยเปลี่ยนทิศทางของแก๊ส และ น้ำมันที่รั่วไหลให้ออกห่างจากตัวแท่น มีเครื่องมือที่สามารถปิดผนึกหลุมเจาะที่รั่วหรือระเบิด พร้อมทั้งระบบที่ทำให้แท่นออกห่างจากการระเบิดได้อีกด้วย และยังติดตั้งระบบป้องกันแก๊สทะลัก และสัญญาณเตือนภัยที่สามารถบอกลูกเรือได้ทันที แม้จะมีแก๊สรั่วเพียงแค่เล็กน้อย 

ทีมลูกเรือของแท่นขุดเจาะยังได้รับการฝึกซ้อมหนีภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการควบคุมดูแลโดยหัวหน้างานที่ใส่ใจความปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด

แต่ในวันนั้น เกิดความผิดปกติของระบบควบคุมความดันในแท่นขุดเจาะ น้ำทะเลปริมาณมากไหลเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำมัน และ ก๊าซจากหลุมเข้าสู่แท่น จนเกิดการระเบิดของน้ำโคลน ที่มีส่วนประกอบของก๊าซมีเทน และ ของเหลวเปลี่ยนเป็นก๊าซอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การระบิดอย่างเนื่องจนเกิดไฟลุกลามบนแท่น 

อะไรคือสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังหายนะในครั้งนี้

สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติม

ในช่วง 4-5 ปีก่อนที่จะเกิดเหตุ Deepwater Horizotal  BP เองก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม ปี2005 โรงกลั่นน้ำมันของ BP ที่ Texas ระเบิด มีคนเสียชีวิตไปหลายคน เพราะนโยบายลดค่าใช้จ่ายจากบริษัทแม่ที่ส่งไปยังลูกๆทำให้ทุกคน บริษัทลูกจึงพยายามตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างออก เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย  

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. เมื่อไรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นมากกว่าความปลอดภัย ย่อมเกิดอุบัติเหตุ

  2. หากนายทุนไม่รับฟังผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย หรือ ผู้จัดการแท่น นั่นคืออุบัติเหตุ


คำถาม 

  1. บริษัทตัดค่าใช้จ่ายมากเกินไปหรือเปล่า? 

  2. มีโอกาสที่ผู้บริหาร หรือ หัวหน้างาน จะละเลยเรื่องของความปลอดภัย อันเนื่องมาจากาการตัดค่าใช้จ่าย หรือไม่? 

  3. ขวัญกำลังใจของพนักงานตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าขวัญกำลังใจไม่ดี จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้หรือเปล่า?

  4. เราให้ความสำคัญเรื่องอะไร เป็นอันดับหนึ่งในการทำงาน?


กลับมาทบทวนกัน ตอนนี้หลายโรงงานก็มีนโยบายในการลดค่าใช้จ่าย  เนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 และการบริหารจัดการของรัฐบาลที่ยังขาดประสิทธิภาพที่ดีพอ 


*ตอนนี้ สิ่งที่ผู้คนต่างจดจำ BP ไม่ใช่ความยิ่งใหญ่ทางธุรกิจ

แต่กลับเป็นเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิด เมื่อปี 2010


*อย่าลืมไปดูหนังกันครับ

cr.ลงทุนแมน, Thairat,รศ. ดร.พิสุทธิ์เพียรมนกุล และ ดร.ณัฐวิญญชวเลิศพรศิยา ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดลอม คณะวิศวกรรมศาสตรจุฬาฯ ตรัง สุวรรณศิลปบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปโตรเลียม จำกัด (มหาชน)