วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แก้ความประหม่า เมื่ออยู่หน้าเวที


จป หรือ หลายคน เมื่ออยู่หน้าเวที แล้วเกิดอาการประหม่า กังวล กลัว หายใจแรง หายใจไม่อิ่ม หรือ สั่น

อาการแบบนี้ เป็นเรื่องปกติ แม้กระทั่งนักพูดมืออาชีพเองก็ต้องมีบ้าง

สาเหตุเกิดจาก

เรากลัวว่าจะพูดได้ไม่ดี กลัวว่าจะมีคำถามแล้วตอบไม่ได้ กลัวว่าจะหมดเวลาก่อน และ อื่นๆมากมาย

สาเหตุหลักมาจาก

ประสบการณ์เรายังน้อย เตรียมตัวมายังไม่ดีพอ และที่สำคัญคือ 

"เราคิดมากเกินไป"

เคยมีคนบอกผมว่า

คนเรา มักจะคิดเรื่องร้ายๆกับตัวเองเสมอ แต่เชื่อมั้ยว่า มีน้อยครั้งจริงๆ ที่มันจะเกิดขึ้น

การพูดบนเวทีก็เช่นเดียวกัน มันไม่เลวร้ายอย่างที่เราคิดหรอก

วิธีแก้ปัญหา คือ เตรียมตัวมาให้ดี กินอาหารที่ย่อยง่าย รวมถึงโปรตีนที่ย่อยง่ายด้วยก่อนการพูด โยเกิร์ตสักถ้วย จิบน้ำสักหน่อย ก็ช่วยได้

เพราะความเครียด เกิดจากการที่ลำไส้ทำงานไม่ปกติ ระบบต่างๆก็มีปัญหาไปด้วย 

สูดลมหายใจเข้า-ออก ลึกๆช้าๆ  ปรับหลัง ปรับลม ปรับใจ ก่อนขึ้นเวที และให้คิดเสมอว่า

เรามาเล่าอะไรบางอย่าง ให้ผู้ฟังได้ฟัง เราไม่ได้มาแข่งขัน 

และที่สำคัญ จงเชื่อว่า ผู้ฟังหลายๆคน ก็กำลังให้กำลังใจเราอยู่ 

เขาเอง ก็อยากให้เราพูดออกมาได้ดี มีความสำเร็จ

เทคนิคนี้ เป็นเทคนิคที่ผมนำมาใช้สม่ำเสมอ แล้วทำให้มีความก้าวหน้าในอาชีพวิทยากรความปลอดภัยเป็นอย่างดี

หากต้องการผลลัพธ์ 100% ก็ต้องเตรียมตัว 200% 

ความสำเร็จ ไม่มีคำว่าฟลุ๊ค หรือ ตกมาจากฟ้า อยากได้ก็ต้องลงมือทำ

ต้องหมั่นหาเวที ให้กับตัวเองสม่ำเสมอ

เราเคยเจอปัญหาเหล่านี้บ้างมั้ยครับ?

#วิทยากรความปลอดภัย
#อยากเป็นวิทยากรมืออาชีพไม่ยากใครๆก็เป็นได้

อ่านอีบุ๊ค 
"เป็นนักพูดมืออาชีพไม่ยากใครๆ ก็เป็นได้% ที่

ติดต่ออบรม

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

มีแฟนเป็น จป. ยังไงๆก็ปลอดภัย

มีแฟนเป็น จป. ยังไงๆก็ปลอดภัย

วันก่อนไปกินข้าวกับภรรยา ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง 

ภรรยาผมบอกว่าได้กลิ่นแก๊สหุงต้มเหม็นมาก 

ผมบอกว่า ก๊าซหุงต้มมีส่วนประกอบหลัก คือ โพเพน ซึ่งไม่มีกลิ่น 

แต่ที่เราได้กลิ่นนั้น คือ Methyl Mercaptan ตัวนี้เติมลงไปเพื่อ ให้เราได้กลิ่นในกรณีที่ก๊าซรั่ว 

มันมีค่า TLV อยู่ที่ 0.5 ppm นั่นหมายความว่า อันตรายมากๆ 

แต่คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสนใจและ คิดว่าเป็นกลิ่นปกติ

โดยเฉพาะ คนขับแท็กซี่ที่ติดก๊าซ ดมทั้งวันในรถ ซึ่งอันตรายมาก 

Methyl Mercaptan เป็น สารประกอบที่ใช้ในการผลิตพลาสติก และ น้ำมันเครื่องบิน Jet แล้วยังพบได้ในพืชพวกกระเทียม และ หัวหอม

นอกจากนั้น ยังมีอันตรายคล้ายๆกับก๊าซไข่เน่า หรือ Hydrogen sulfide คือ ไม่มีสีแต่กลิ่นฉุน

ทำลายระบบทางเดินหายใจ ระคายเคือง วิงเวียน เสียชีวิตได้

ภรรยาผม ถอนหายใจ แล้วก็ก้มหน้าก้มตา กินข้าว...

เธอคงรู้สึกภาคภูมิใจมากที่มีแฟนเป็น จป. วิชาชีพ และยังเป็นวิทยากรความปลอดภัยอีกด้วย

มีแฟนเป็น จป. ยังไงๆก็ปลอดภัย

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

หรือ สั่งผ่าน Shopee

แจกอีบุ๊คฟรี

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ไม่กล้าเตือนข้ามแผนก

ไม่กล้าเตือนข้ามแผนก

พี่ท่านหนึ่ง 

เล่าความในใจให้ฟังว่า อยากจะบอก อยากจะเตือนความปลอดภัยข้ามแผนก 

แต่รู้สึกอึดอัด ไม่กล้าที่จะเข้าไปบอก ให้คนที่อยู่ต่างแผนก ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

เพราะกลัวว่า เขาจะโกรธ กลัวเขาจะไม่ชอบ เพราะเราไม่ใช่หน.งานของเขา 

พอผมได้ฟังแล้วผมรู้สึกดีมากๆ เพราะพี่ท่านนี้ มีทัศนคติที่ดีมาก เกี่ยวกับความปลอดภัย

แต่ผมไม่รู้หรอกว่า จะต้องช่วยยังไง 

จึงนำกระบวน"การโค้ช" มาช่วย

สุดท้าย พี่ท่านนี้ก็สามารถคิดได้เองว่า จะต้องให้ฝ่ายบริหาร ประกาศเป็น "นโยบายชัดเจน" 

ฝ่ายบริหาร ต้องนำเรื่องนี้มาคุยไปบ่อยๆ ว่าทุกคนสามารถช่วยกันเตือน ช่วยกันบอก ข้ามแผนกได้ 

และอีกหนึ่งอย่าง ที่ต้องทำก็คือ ผู้ที่ถูกเตือน หรือ ถูกแนะนำ ก็ต้อง"เปิดใจ"รับฟัง  

บางครั้ง การที่เราบอกวิธีการไปทั้งหมด อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา 

แต่หากเขานำสิ่งที่เราบอกไปใช้นั้น มันอาจจะไม่ดีที่สุดสำหรับเขา 

กระบวนการโค้ช จะเป็นวิธีการ ที่ทำให้ผู้ที่มารับการโค้ช สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมด้วยตัวเอง 

โดยโค้ชจะช่วย ประเมินว่า วิธีการที่เขาเลือกนั้น เหมาะสมหรือเปล่า ? 

ด้วยการตั้งคำถาม รวมไปถึงช่วยกระตุ้นให้เขาได้ "ลงมือทำ" 

การลงมือทำ คือ บิดาของทุกสิ่ง และ ปัญญาที่แท้จริง ต้องเกิดจากการปฏิบัติ 

การโค้ชเพื่อความปลอดภัย วิธีการง่ายๆแต่ใช้ได้จริง 

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


สั่งซื้อหนังสือ

หรือ สั่งผ่าน Shopee

แจกอีบุ๊คฟรี

#สอนออนไลน์สด
#ความปลอดภัย

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผมไม่กลัวตกหรอก

น้องคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า 

คุณลุงคนหนึ่ง กำลังขึ้นไปอยู่บน Nifty lift เพื่อไปทำงานบนที่สูง 

จึงเดินไปถามว่า ทำไมไม่ใช้เข็มขัดกันตก เพื่อความปลอดภัย 

เพราะที่ตัวถังรถ ก็มีสติ๊กเกอร์ติดอยู่ว่าให้สวมเข็มขัดกันตกทุกครั้ง

คุณลุงบอกว่า

ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่เคยตกมาเลย เข็มขัดมันเกะกะ ไม่ตกหรอก

น้องคนนี้รู้ว่า

คุณลุงเป็นเบาหวาน และเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

จึงถามต่อว่า 

ถ้าสมมติว่า น้ำในหูไม่เท่ากันกำเริบ เวียนศีรษะ หรือหมดสติ ขณะที่อยู่ข้างบนจะทำยังไง?

คุณลุงตอบว่า

โอ๊ย ! ถ้ามันจะเกิดขึ้น ลุงรู้ตัวก่อนแล้ว ลุงไม่ขึ้นไปหรอกไม่ต้องห่วง 

พฤติกรรมนี้เกิดจาก 

คุณลุง ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ จนกลายเป็น "นิสัย" และเชื่อว่า ไม่เกิดอุบัติเหตุแน่ๆ

มหาวิทยาลัย MIT ได้ศึกษาเกี่ยวกับ กลไกในการเกิดนิสัยของมนุษย์ และพบว่าประกอบด้วย 3 อย่าง 

1. สิ่งกระตุ้น 
2. กิจวัตร 
3. รางวัล

ซึ่งในเหตุการณ์นี้ 

"กิจวัตร" คือ ทำงานบนที่สูงไม่ใช้อุปกรณ์กันตก 

"ตัวกระตุ้น" คือ สภาพแวดล้อมที่อยู่ และหัวหน้างาน ก็ไม่เคยว่าอะไร

"รางวัล" คือ ไม่มีอุบัติเหตุ เสร็จอย่างรวดเร็ว

คำถาม เพื่อแก้ปัญหา

1. เราจะแก้ไขกิจวัตรนี้อย่างไร ? 

2. เราจะใช้อะไรเป็นตัวกระตุ้นเพื่อกำหนดพฤติกรรมใหม่

3. รางวัลที่เราควรจะมีให้ จะต้องเป็นอะไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 

คิดเห็นกันอย่างไร ช่วยเล่าสู่กันฟังครับ บนพื้นฐานของความสุภาพนะ

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

หรือ สั่งผ่าน Shopee

แจกอีบุ๊คฟรี

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ไฟไหม้ King's Cross Station ตาย13


ในปี 1987 เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ที่สถานีรถไฟคิงครอส ประเทศอังกฤษ มีคนเสียชีวิต 31 คน

ก่อนเกิดเหตุ มีผู้โดยสารคนหนึ่งเดินเข้าไปแจ้งจนท.จำหน่ายตั๋วว่า

พบไฟไหม้กระดาษทิชชู ที่บันไดเลื่อน 

จนท.จึงเดินไป พร้อมกับใช้แมกกาซีนที่อยู่ในมือ ม้วนๆ ตีไปที่กระดาษทิชชู จนไฟดับไป

หลังจากนั้น เขาก็กลับมาทำงานปกติ  โดย "ไม่ได้แจ้งหน่วยงานดับเพลิง"

เวลาผ่านไปไม่นานนัก ก็เกิดไฟลุกไหม้อย่างรวดเร็ว ผู้โดยสารวิ่งหนีตายกันโกลาหล 

เจ้าหน้าที่สถานี จึงกดสัญญาณอพยพฉุกเฉิน  แต่ก็ยังไม่ได้แจ้งฝ่ายดับเพลิง 

เพราะ สถานี มีกฏอยู่ว่า 

"ไม่ให้ติดต่อหน่วยงานภายนอกโดยตรง หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา"

เมื่อ จนท.ที่ดับเพลิงภายนอกมาถึงดับเพลิงล่าช้ามาก เพราะเขาไม่ได้ใช้ ท่อน้ำดับเพลิงของสถานีรถไฟในการดับเพลิง 

แต่เขาใช้รถดับเพลิง และท่อดับเพลิงข้างถนนที่ตนเองมี ในการดับ 

เพราะคุ้นเคยกับของของตัวเองมากกว่า และเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดี เพราะเคยใช้ของที่ไม่คุ้นเคย

ทำให้เสียเวลามาก และดับเพลิงล่าช้า เกิดความเสียหายเป็นอย่างมหาศาล


สาเหตุ

1. ต่างคนต่างใหญ่ ต่างออกกฎเพื่อตนเอง ผู้บริหารแยกกันทำงาน ทำให้ พนักงานขาดความสามัคคี

2. ให้ความสำคัญกับผลกำไรมากกว่าความปลอดภัย  

เขากำหนดให้ จนท.จำหน่ายตั๋วมีหน้าที่ในการจำหน่ายตั๋วเท่านั้น 

ห้ามไปทำอย่างอื่น เพราะจะเสียเวลาทำงาน และผู้โดยสารต้องรอนาน ไม่สะดวก 

จนทำให้เขาเข้าใจว่า เขามีหน้าที่แค่นี้จริงๆ

3. พนง.ทำตามกฎระเบียบมากเกินไป จนเคยชิน ไม่อยากฝ่าฝืน เพราะจะเจ็บตัว

ถึงแม้ว่ากฎที่มีนั้น ไม่ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย

4. พนักงานดับเพลิง มีประสบการณ์ไม่ดี กับการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงที่ไม่ใช่ของตนเอง 

จึงใช้อุปกรณ์สาธารณะ ที่ใช้อยู่ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ

5. พนง.ของสถานี ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงไม่เป็น เพราะไม่มีการฝึกอบรม และ ต่างฝ่าย ต่างมองว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายดับเพลิง ไม่ใช่หน้าที่ของพวกเขา


มาตรการป้องกัน

1. ผู้นำสูงสุด ต้องสร้างความสามัคคีให้กับผู้บริหารของทุกๆฝ่าย

2. ความปลอดภัย ต้องเป็นหน้าที่ของทุกคนทุกระดับ มิใช่เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง

3. ต้องให้ความสำคัญ ในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง มากกว่าผลกำไร เพราะ ความสูญเสียนั้น มันมากกว่าที่เราคิดเยอะ

4.  ต้องฝึกซ้อมดับเพลิงสม่ำเสมอ แม้กระทั่ง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงภายนอกเอง ก็ควรชวนมาร่วมซ้อมด้วย

5. แก้ไข และปรับปรุงกฎระเบียบ ใหม่ทั้งหมด ที่ไม่ ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

ต่างคนต่างใหญ่ ต่างออกกฎของตนเอง 

สุดท้ายคนที่เสียชีวิต คือ คนที่ไม่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย


ติดต่ออบรมความปลอดภัย
สั่งซื้อหนังสือ

หรือ สั่งผ่าน Shopee

แจกอีบุ๊คฟรี