วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รถบรรทุกแก๊ประเบิดที่พังงา

ร้ายแรงกว่า รถแก้สระเบิดที่เพชรบุรี 
คือ รถบรรทุกแก๊ประเบิด ที่พังงา

มีผู้เสียชีวิต 207 ราย คน บาดเจ็บกว่า 520 คน เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2534

รถพ่วง18 ล้อ ขับมาจากภูเก็ต บรรทุกระเบิดชนิดไดนาไมค์ 

พร้อมชนวน และเชื้อปะทุจำนวนเต็มคันรถ น้ำหนัก 30 ตัน หรือเชื้อปะทุจำนวน 1,300,000 ชิ้น เพื่อนำไประเบิดหินที่สระบุรี

เมื่อขับมาถึง "โค้งหักศอก" รูปครึ่งวงกลม ใกล้สถานีอนามัย ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

รถพ่วงคันนี้ ได้เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ทำให้ ระเบิด ชนวน และเชื้อปะทุต่างๆ ได้หล่นกระจายเกลื่อนถนน 

ชาวบ้านจำนวนมากได้เข้ามา "มุงดู" โดยไม่รู้เลยว่า อุบัติเหตุครั้งใหญ่กว่า กำลังจะเกิดขึ้นตามมา...

2 ชั่วโมง ถัดมา 

ในขณะที่ไทยมุง ยังคงมุงดูเหตุการณ์ สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดก็ได้เกิดขึ้น เมื่อระเบิด ชนวน และเชื้อปะทุต่างๆ ที่หล่นกระจาย 

ได้เกิด "ระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง"  เสียงดังสนั่นหวั่นไหวดังไปไกลหลายกม. รัศมีของระเบิดแผ่ไปไกลกว่า 250 ม. 

ทำลายชีวิตผู้คน สิ่งของ และบ้านเรือนบริเวณนั้นพังราบเป็นหน้ากลอง 

แรงระเบิดได้ทำให้บ้านเรือนราษฎรกว่า 50 หลัง 

รวมทั้งชาวบ้านที่นั่งอยู่ในรถบัสและรถยนต์สองแถวเสียชีวิตทันที

เจ้าหน้าที่ได้ทำการเคลียร์พื้นที่แล้วนำศพทั้งหมดไปเผารวมกันที่วัดประชุมศึกษาที่อยู่ห่างไป 400 เมตร 

เนื่องจากเมรุของวัด "ไม่สามารถรองรับ" จำนวนศพที่มากขนาดนั้นได้

อุบัติเหตุนี้ นอกจากจะนำความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ผู้คนในชุมชนนั้นแล้ว 

ยังเปลี่ยนวิถีชุมชนทุ่งมะพร้าวจากชุมชนที่คึกคักและรุ่งเรือง กลายเป็นชุมชนที่ "ซบเซา" มาจนถึงทุกวันนี้ 

และยังมีเรื่องเล่าหลอนๆหลายเรื่องในบริเวณนั้น 

ไม่ว่าจะได้ยินเสียงโอดควน ด้วยความทรมาน ผีหัวขาด แขนขาด ผิวหนังไหม้ และ ต่างๆมากมาย

สาเหตุ ตั้งไว้ 3 ประเด็น คือ 

- มีคนเอาไฟไปจุดแก๊ประเบิด 
- การใช้วิทยุสื่อสาร จนไปชนวนจุดระเบิด
- เกิดจากแรงเสียดสี ของแก๊ประเบิดนั่นเอง

ในมุมมองของนักอาชีวอนามัยฯ หรือ จป.เอง 

เราเชื่อว่า "อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้"

มาตรการป้องกันที่ต้องมี

1. ฝึกอบรมการขับรถขนส่งวัตถุอันตราย
2. ควบคุมปริมาณวัตถุอันตรายในการขนส่ง
3. มีแผนฉุกเฉินในกรณีวัตถุอันตราย หก หรือ รั่วไหล
4. ประเมินอันตราย และ เส้นทางในการเดินทาง
5. มีสติในการขับขี่ และ ใช้ความเร็วตามที่กม.กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอุบัติเหตุครั้งนี้

1. ไทยมุง นอกจากจะไม่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงกว่าเดิม

2. การกั้นพื้นที่ และ ป้องกันไทยมุง เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ

3. ถ้าวัตถุอันตรายเป็นสารเคมี หรือระเบิด ต้องป้องกันไม่เกิดแหล่งความร้อน ประกายไฟ หรือ การกระแทก เสียดสี ในบริเวณนั้น

4. การประเมินอันตราย และ เส้นทางในการขับขี่ เป็นสิ่งสำคัญมาก ระยะทาง ถ้าไกลหน่อย ยังดีกว่า ระยะสั้น แต่คดเคี้ยวเป็นอันตราย

คำถาม

1. บริษัทของเรา มีการขนส่งวัตถุอันตรายหรือเปล่า?
2. มีลูกค้าขนส่งวัตถุอันตรายมาให้เรามั้ย?
3. เราได้มีมาตรการความปลอดภัย ในเรื่องนี้อย่างไร
4. มาตรการที่มีเพียงพอ หรือ ได้ทำการทบทวนหรือยัง?

ขอแสดงความเสียใจกับญาติและผู้เสียชีวิตทุกคนด้วยครับ 

ถ้าบทความนี้ ทำให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์เกิดความสะเทือนใจ

ผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ผมมิได้มีเจตนาในการทำร้ายจิตใจผู้ใด

แต่อยากให้เป็นอุทาหรณ์เพื่อความปลอดภัยของคนไทยทุกคนครับ

Source : ณรงค์ ชื่นนิรันดร์, บอร์ดแคสไทยแลนด์,เรื่องเล่า เรื่องผี

เรียบเรียงโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
The Safety Coach

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

อันตรายจากการเชื่อมโลหะ


แต่ละปี ช่างเชื่อมหายใจฟูมโลหะเข้าไปปริมาณเท่าไร ?

จากข้อมูลของ Bureau of Labor Statistic 
พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากงานเชื่อมมากกว่า 5 แสนคน ต่อปี และ ใน 4 คน ของ 1,000 คน มีความเสี่ยงต่อการ เสียชีวิต 

นอกจากนั้นยังมีอันตรายอื่นๆมากมาย

 - ระบบทางเดินหายใจ 
 - รังสี 
 - เสียงดัง
 - ความร้อน
 - ดวงตา และใบหน้า
 - การยศาสตร์
 - ไฟฟ้า
 อัคคีภัย
 แรงดันของแก้ส

กลับมาสอน  Welding Hazards อีกครั้ง 
ไม่ได้สอนมานานมาก 

นำประสบการณ์
ที่เคยเรียนมาจากสวีเดน และ อเมริกา มาแบ่งปันครับ

#ความปลอดภัยในงานเชื่อม
#อันตรายจากงานเชื่อม

อันตรายจากมือถือ สมาร์ทโฟน

ชายคนหนึ่ง ตกลงไปในชานชลา ของรถไฟฟ้า   ใน Philadelphia แต่โชคดีที่สามารถช่วยชีวิตได้ทัน 

โดยสาเหตุเกิดจาก การ พิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์มือถือในขณะที่เดิน แล้วก้าวพลาดตกลงไป

ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นหลายครั้งมาก และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ 

ในประเทศอังกฤษ เมื่อหลายปีก่อน มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เดินพิมพ์ข้อความ และเสียบหูฟัง ฟังเพลงไปด้วย ในขณะที่เดินผ่านชานชลานั่นเอง 

ก็ถูกรถไฟพุ่งชนอย่างจัง และเสียชีวิตทันที

คนขับรถไฟบอกว่า เห็นเธอแต่ไกลแล้ว กดแตรเตือนแล้ว แต่เธอไม่ได้ยิน และเขาไม่สามารถหยุดรถไฟได้ทัน 

จึงทำให้เกิด โศกนาฏกรรมดังกล่าว

แม้กระทั่งในเกาหลีใต้เองก็เช่นเดียวกัน สถิติที่เกิดขึ้นบนทางข้างถนน อันเนื่องจากการพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกปี 

ทางรัฐบาลเกาหลี จึงออกมารณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นการติดสติ๊กเกอร์เตือนที่ทางเดิน และป้ายบริเวณทางข้ามว่า ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ

เป็นการรณรงค์ที่ดี 

ประเทศไทยเราเอง สำหรับจป. อย่างเราๆ ก็เริ่มรณรงค์วัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงงาน

ด้วยการไม่ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะเดิน จะเป็นสิ่งที่ดีมากครับ

ไม่ต้องรอ เราทำได้ทำเลยครับ...

Unseen Unsafe

Photo credit : KBS News

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
www.pramoteo.com

เรียนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จบไปทำอะไร

หลายคน เลือกเรียนอาชีวอนามัยฯ เพราะเชื่อว่าเงินดี และไม่ตกงาน ข่าวร้าย คือ ยังมีอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ 

1. จป.เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจมาก เพราะทำให้ผลผลิตของนายจ้างลดลง เพิ่มขั้นตอนในการทำงาน และ ค่าใช้จ่ายของบริษัทมากขึ้น

2. จป. นิ้วชี้ยาวกว่านิ้วกลาง วันๆไม่ทำอะไร เดินไปเดินมา แล้วก็จับผิดคนอื่น สั่งอย่างเดียว

3. จป. ขี้ฟ้อง ทำตัวเป็นไม้กันหมาในห้องแอร์

4. จป. ทำงานเอาหน้า พอไม่มีอุบัติเหตุ บอกว่าฝีมือตัวเองคนเดียว

ที่ผมพูดมาทั้งหมด คือ ความจริง นี่คือ ความคิดของ
คนที่ “คิดไม่เป็น หรือ คิดลบ” 

ซึ่งจริงๆแล้ว อาชีพนี้ เป็นอาชีพที่ทรงเกียรติมาก

1. ไม่มีอาชีพไหนบนโลกนี้ ที่ดูแลความปลอดภัยของทุกคนทุกระดับ และความปลอดภัยทุกตารางนิ้ว 

หมอรักษาคนได้ทีละ 1 คน แต่เรา ช่วยเหลือให้คนทีละจำนวนมากๆ ให้รู้จักการป้องกัน และดูแลสุขภาพอนามัยในการทำงานของตัวเอง

2. จป. ไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่าย เพราะความปลอดภัย คือ ส่วนผสมหลักของการผลิต ไม่มีความปลอดภัย ก็ผลิตไม่ได้  

3. จป. ไม่ได้เดินไปเดินมาเพื่อจับผิด แต่เดินเพื่อสังเกตความปลอดภัย และ รับฟังปัญหาด้านความปลอดภัยเพื่อนำไปแก้ไข

4. จป. ต้องนั่งในห้องแอร์ เพราะเอกสารมันเยอะมาก และ งานนอกห้องแอร์ก็เยอะไม่แพ้กัน

ซวยซ้ำ ซวยซาก เพราะ นายจ้างเข้าใจผิดคิดว่า งาน จป. “จ้างแค่คนเดียวก็พอ” ลองนับจำนวนหัวดูสิ น้อยกว่าแผนกอื่นๆทั้งนั้น

จป. สำคัญสุดๆ เพราะต้อง“รับผิดชอบชีวิต และสุขภาพ” ของทุกคน

ถ้าใครไม่มีเมตตา หรือว่า คิดจะมาเอา มากกว่าจะให้ ก็คงไม่เหมาะกับ อาชีพนี้เท่าไรนัก...

มือของผู้ให้ อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ
ผู้รับว่ามีความสุขแล้ว แต่ผู้ให้มีความสุขมากกว่า

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
#ความปลอดภัย
www.pramoteo.com