วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รถบรรทุกแก๊ประเบิดที่พังงา

ร้ายแรงกว่า รถแก้สระเบิดที่เพชรบุรี 
คือ รถบรรทุกแก๊ประเบิด ที่พังงา

มีผู้เสียชีวิต 207 ราย คน บาดเจ็บกว่า 520 คน เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2534

รถพ่วง18 ล้อ ขับมาจากภูเก็ต บรรทุกระเบิดชนิดไดนาไมค์ 

พร้อมชนวน และเชื้อปะทุจำนวนเต็มคันรถ น้ำหนัก 30 ตัน หรือเชื้อปะทุจำนวน 1,300,000 ชิ้น เพื่อนำไประเบิดหินที่สระบุรี

เมื่อขับมาถึง "โค้งหักศอก" รูปครึ่งวงกลม ใกล้สถานีอนามัย ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

รถพ่วงคันนี้ ได้เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ทำให้ ระเบิด ชนวน และเชื้อปะทุต่างๆ ได้หล่นกระจายเกลื่อนถนน 

ชาวบ้านจำนวนมากได้เข้ามา "มุงดู" โดยไม่รู้เลยว่า อุบัติเหตุครั้งใหญ่กว่า กำลังจะเกิดขึ้นตามมา...

2 ชั่วโมง ถัดมา 

ในขณะที่ไทยมุง ยังคงมุงดูเหตุการณ์ สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดก็ได้เกิดขึ้น เมื่อระเบิด ชนวน และเชื้อปะทุต่างๆ ที่หล่นกระจาย 

ได้เกิด "ระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง"  เสียงดังสนั่นหวั่นไหวดังไปไกลหลายกม. รัศมีของระเบิดแผ่ไปไกลกว่า 250 ม. 

ทำลายชีวิตผู้คน สิ่งของ และบ้านเรือนบริเวณนั้นพังราบเป็นหน้ากลอง 

แรงระเบิดได้ทำให้บ้านเรือนราษฎรกว่า 50 หลัง 

รวมทั้งชาวบ้านที่นั่งอยู่ในรถบัสและรถยนต์สองแถวเสียชีวิตทันที

เจ้าหน้าที่ได้ทำการเคลียร์พื้นที่แล้วนำศพทั้งหมดไปเผารวมกันที่วัดประชุมศึกษาที่อยู่ห่างไป 400 เมตร 

เนื่องจากเมรุของวัด "ไม่สามารถรองรับ" จำนวนศพที่มากขนาดนั้นได้

อุบัติเหตุนี้ นอกจากจะนำความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ผู้คนในชุมชนนั้นแล้ว 

ยังเปลี่ยนวิถีชุมชนทุ่งมะพร้าวจากชุมชนที่คึกคักและรุ่งเรือง กลายเป็นชุมชนที่ "ซบเซา" มาจนถึงทุกวันนี้ 

และยังมีเรื่องเล่าหลอนๆหลายเรื่องในบริเวณนั้น 

ไม่ว่าจะได้ยินเสียงโอดควน ด้วยความทรมาน ผีหัวขาด แขนขาด ผิวหนังไหม้ และ ต่างๆมากมาย

สาเหตุ ตั้งไว้ 3 ประเด็น คือ 

- มีคนเอาไฟไปจุดแก๊ประเบิด 
- การใช้วิทยุสื่อสาร จนไปชนวนจุดระเบิด
- เกิดจากแรงเสียดสี ของแก๊ประเบิดนั่นเอง

ในมุมมองของนักอาชีวอนามัยฯ หรือ จป.เอง 

เราเชื่อว่า "อุบัติเหตุสามารถป้องกันได้"

มาตรการป้องกันที่ต้องมี

1. ฝึกอบรมการขับรถขนส่งวัตถุอันตราย
2. ควบคุมปริมาณวัตถุอันตรายในการขนส่ง
3. มีแผนฉุกเฉินในกรณีวัตถุอันตราย หก หรือ รั่วไหล
4. ประเมินอันตราย และ เส้นทางในการเดินทาง
5. มีสติในการขับขี่ และ ใช้ความเร็วตามที่กม.กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอุบัติเหตุครั้งนี้

1. ไทยมุง นอกจากจะไม่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงกว่าเดิม

2. การกั้นพื้นที่ และ ป้องกันไทยมุง เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ

3. ถ้าวัตถุอันตรายเป็นสารเคมี หรือระเบิด ต้องป้องกันไม่เกิดแหล่งความร้อน ประกายไฟ หรือ การกระแทก เสียดสี ในบริเวณนั้น

4. การประเมินอันตราย และ เส้นทางในการขับขี่ เป็นสิ่งสำคัญมาก ระยะทาง ถ้าไกลหน่อย ยังดีกว่า ระยะสั้น แต่คดเคี้ยวเป็นอันตราย

คำถาม

1. บริษัทของเรา มีการขนส่งวัตถุอันตรายหรือเปล่า?
2. มีลูกค้าขนส่งวัตถุอันตรายมาให้เรามั้ย?
3. เราได้มีมาตรการความปลอดภัย ในเรื่องนี้อย่างไร
4. มาตรการที่มีเพียงพอ หรือ ได้ทำการทบทวนหรือยัง?

ขอแสดงความเสียใจกับญาติและผู้เสียชีวิตทุกคนด้วยครับ 

ถ้าบทความนี้ ทำให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์เกิดความสะเทือนใจ

ผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ผมมิได้มีเจตนาในการทำร้ายจิตใจผู้ใด

แต่อยากให้เป็นอุทาหรณ์เพื่อความปลอดภัยของคนไทยทุกคนครับ

Source : ณรงค์ ชื่นนิรันดร์, บอร์ดแคสไทยแลนด์,เรื่องเล่า เรื่องผี

เรียบเรียงโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
The Safety Coach

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น