วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

อุบัติเหตุเหรอ ลืมๆไปบ้างก็ได้

ชายคนหนึ่ง เป็นคนเก่ง เป็นคนที่มีความสามารถ เป็นคนที่มีชื่อเสียงมากๆ 

จนวันหนึ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เชิญเขา ให้มาทำงานด้วย แล้วถามเขาว่า 

คุณต้องการอะไรบ้างไหมในห้องทำงาน? 

ชายคนนี้บอกว่า ผมต้องการโต๊ะใหญ่ๆ 1 ตัว กระดาษ ดินสอ และ ถังขยะ ใบใหญ่ๆ 1 ใบ 

ผู้บริหารท่านนั้น เกิดความสงสัย จึงถามชายคนนี้ว่า 

ทำไมคุณจึงต้องการ ถังขยะใบใหญ่ๆด้วยล่ะ?

ชายคนนี้ตอบว่า เพราะผมต้องการ ที่จะทิ้งกระดาษ ที่ผมทำผิดพลาด ลงไปในถังยะ 

ชายคนนี้มีชื่อว่า  "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์"


ผมได้อ่านบทความนี้  จากอัตชีวประวัติ  ของเขา  ทำให้ผมเข้าใจว่า

คนเก่ง คนมีความสามารถ คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต 

เขารู้อยู่แล้วว่า ระหว่างทางที่จะไปยังจุดนั้นๆ ย่อมเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น และเกิดขึ้นจำนวนมากๆด้วย 

เขาก็พร้อมที่จะทิ้งมันไป โดยไม่สนใจ เพื่อที่จะมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ  ไม่จมปลักอยู่อดีตที่ผิดพลาด


เช่นเดียวกับงานด้านความปลอดภัย การทำงานแรกๆ ในระบบของโรงงานที่ไม่มีมาตรฐาน ก็ย่อมเกิดอุบัติเหตุได้ หรือ แม้ว่าจะมีมาตรฐานที่ดีแล้วก็ตาม

"อะไรที่เกิดขึ้น ย่อมดีเสมอ" 

อุบัติเหตุมีไว้เรียนรู้ ความปลอดภัยมีไว้ปฏิบัติ" 

ทุกครั้งที่เกิดเหตุ ก็ต้องศึกษาว่า 

1. สาเหตุเกิดจากอะไร? 
2. เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
3. เราจะทำอย่างไร ให้ปลอดภัยมากกว่านี้? 

พี่คนนึงเล่าให้ฟังว่า พนักงานที่บริษัท เสียชีวิต เนื่องจากขาดอากาศหายใจ ในที่อับอากาศ 

เธอเสียใจมาก กินไม่ได้นอนไม่หลับ แทบจะเป็นอาการซึมเศร้า 1ปีเต็มๆ 

จนวันนึง เธอมีโอกาสไปคุยกับจิตแพทย์ และปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม ทำให้เธอเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น 

เริ่มมองเห็นไตรลักษณ์ เริ่มมองเห็นความจริงของชีวิต เกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรแน่นอนและถาวร 

สิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนดีเสมอ เป็นสัจธรรมของชีวิต 

เพราะเขาไม่ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยอุบัติเหตุก็ต้องเกิดขึ้น มันย่อมถูกต้องอยู่แล้ว 

แทนที่เราจะมานั่งเสียใจทุกข์ใจ เขาก็ไม่ฟื้นขึ้นมา แต่ถ้าเราตั้งใจที่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม อะไรๆ ก็ย่อมดีขึ้น


"อุบัติเหตุมีไว้เรียนรู้ ความปลอดภัยมีไว้ปฏิบัติ"

อย่าจมปัก กับความผิดพลาดในอดีต

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
ปราโมทย์โอภาสมงคลชัย 

อบรมจิตสำนึกความปลอดภัย  BBS  
โทร 089 678 4547  
LINE@ : @thesafetycoach
www.pramoteo.com

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อหาเงิน แต่มนุษย์เกิดมาเพื่อหาความสงบ

เมื่อวาน มีโอกาสได้คุยกับผู้บริหารท่านหนึ่งซึ่งประสบความสำเร็จในธุรกิจสูงมาก

ผู้บริหารท่านนี้ เล่าให้ฟังว่า เขาเป็นคนที่สนุกกับการหาเงิน ชอบทำอะไรใหม่ๆ ที่ท้าทาย อะไรที่ไม่เคยทำ ก็ต้องลอง สนุกกับการแก้ปัญหา เปรียบตัวเองเสมือน "หมูไม่กลัวน้ำร้อน" 

แต่วันนี้ได้เข้าใจแล้วว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตไม่ใช่ความสนุกในการหาเงิน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ  "ความสงบ

เพราะหลายเดือนก่อน ผู้บริหารท่านนี้ มีอาการเหนื่อยหอบ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 

หมอบอกว่า "ลิ้นหัวใจรั่ว" ต้องกินยาตลอดชีวิต สาเหตุเกิดจาก ทำงานหนักเกินไป และไม่รู้ตัว ร่างกายทนไม่ไหวแล้ว 


ร่างกายไม่เคยโกหก 

ถึงแม้ว่าเขารู้สึกสนุกกับการทำงาน แต่จริงๆแล้ว ร่างกายต้องการที่จะพักผ่อน

อันนี้เป็นหลุมพราง เป็นจุดบอดที่หลายคนไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว เราเครียดแต่เราไม่รู้ตัว เพราะเรา "ขาดความสงบ" ในจิตใจ 

ท่านเล่าให้ฟังว่า  ความสงบสำคัญมาก เราหลงมาทั้งชีวิต เราสนุกกับการหาเงิน โดยมองว่ามันเป็นความสนุก 

แต่จริงๆแล้ว ร่างกายของเรามันเครียด มันฟ้องมาหลายครั้งแล้ว ว่ามันต้องการหยุดพัก แต่เราไม่หยุด

เงินก่อให้เกิดความทุกข์

20 ปีก่อน เขาก็มีความทุกข์ที่เกิดจากเรื่องของเงิน ที่เขาคิดว่ามันสนุก ในวันที่ต้องเสียมันไป 

เขาโกรธ และเสียใจมาก อยากจะไปฆ่าไอ้คนที่โกงเขามาก เพราะไปยึดติดกับมัน เขาถูกโกงไป 200,000 บาท 

แต่หลังจากที่ ฝึกเจริญสติ และได้มีโอกาสไปบวชมา  จึงเข้าใจว่า เราให้ราคา กับเงิน 2 แสน บาทมากเกินไป 

แต่เราลืมให้ราคา กับอันตรายของความโกรธ ว่ามัน มากกว่าเงิน 2 แสน หลายร้อย หลายพันเท่า 


จึงกลับมา ให้ราคากับความหลง ตอนนี้รู้แล้วว่า มันแพงกว่าที่คิดเยอะมาก ใจเริ่มสงบมากขึ้น

ปราโมทย์เป็นคนเก่งนะ 

ที่พี่เล่าให้ฟัง ก็อยากให้เป็นอุทาหรณ์ กับหลายๆคน และปราโมทย์เอง ก็สามารถที่จะช่วยหลายๆคนได้ ให้เขากลับมารู้สึกตัว ไม่ให้บ้างาน ขยันหาเงินมากเกินไป 

ปราโมทย์ทำงานด้านความปลอดภัย 

นอกจากจะเมตตาคนอื่นแล้ว อย่าลืมที่จะเมตตาตัวเองด้วยนะ

ดูแลสุขภาพของตัวเองกันให้ดี ฝากบอกเพื่อนๆในวงการความปลอดภัยด้วยนะครับ

"กายจะแข็งแรงต้องเคลื่อนไหว ใจจะแข็งแกร่งต้องสงบนิ่ง"

พี่ฝากข้อคิดเหล่านี้ไว้นะ เพื่อเป็นอุทาหรณ์กับหลายๆคน 

มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อหาเงิน แต่มนุษย์เกิดมาเพื่อความสงบ 


พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้  
ปราโมทย์โอภาสมงคลชัย 

ติดต่ออบรมความปลอดภัย
อบรมจิตสำนึกความปลอดภัย  BBS  
โทร 089 678 4547 
Line@ : @thesafetycoach
www.pramoteo.com

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

ขาขาด เพราะตาไม่มอง

เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ ล้วนเกิดจากการที่เรา "ไม่ได้มอง" หรือ "มองไม่เห็น" ทำให้เราไปอยู่ในจุดอันตรายและเกิดอุบัติเหตุ

ตาไม่มอง หรือ มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่า หลับตา แต่เรามองอย่างอื่นมากกว่า สิ่งที่เราควรจะต้องมองในขณะนั้น

หลายคนสะดุดล้ม หรือ เดินชน ก็เพราะไม่เห็นคนที่เดินมา ไม่เห็นก้อนหินที่มันอยู่บนพื้นก็เลยสะดุด 

คนปัจจุบัน ละสายตาจากสิ่งที่ทำ เพราะ "เขามองที่มือถือ" 

โทรศัพท์มือถือฆ่าคน ไปไม่น้อยในแต่ละปี 

ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับขี่ อันนี้อันตรายที่สุด เพราะเราละสายตาจากทางที่เรามอง เงยหน้าขึ้นมาก็เกิดอุบัติเหตุ บางคนซวยหน่อย ไม่มีโอกาสเงยหน้าอีกเลย

ล่าสุด ผมเห็นข่าว คนจีนขาขาด 2 ข้างเพราะว่า สะดุดล้มบนลิฟท์ แล้วลิฟท์มันก็หนีบขาทั้งสอง หนีบเสร็จมันก็ขึ้นอัตโนมัติ เพราะ ระบบเซ็นเซอร์ไม่ทำงาน หรือว่าไม่มี 

จึงทำให้ ขาทั้ง 2 ข้างขาด


สาเหตุเกิดจากคนจีนคนนี้ ไม่ได้มองทางเดิน ในขณะเดินเข้าไปในลิฟท์ แต่เขามองที่โทรศัพท์มือถือ 

เนื่องจากไม่ได้มอง มองไม่เห็น และจิตใจไปจดจ่อกับสิ่งอื่นมากกว่าสิ่งที่ต้องทำ 


พี่คนหนึ่ง ทำงานที่ห้างสรรพสินค้า ฝากให้ผมมาบอกทุกคนว่า... 

เวลาขึ้นบันไดเลื่อน รบกวน อย่ามอง ใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะมีโอกาส สะดุดล้มรวมถึง นิ้วก้อยเท้าอาจจะเข้าไปติด กับช่องบันไดเลื่อนด้านข้าง 

และได้แย่กว่านั้น ปกติบันไดเลื่อน จะมีระบบเซฟตี้ เป็นขนสีดำข้างๆบันไดเลื่อน เพื่อเตือนให้เอาเท้าออก เวลาที่เท้าของเราเผลอไปโดน

แต่บางคนคิดว่า เป็น "ที่ขัดรองเท้า" เอารองเท้าเข้าไปแหย่ แบบนี้ยิ่งแย่ไปกันใหญ่

อย่าละสายตา โฟกัสในสิ่งที่ทำ เงยหน้าไม่มองโทรศัพท์ อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ OK!



พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ ปราโมทย์โอภาสมงคลชัย

ติดต่ออบรมความปลอดภัย 
อบรม BBS อบรมจิตสำนึกความปลอดภัย
www.pramoteo.com

โทร 0896784547

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

อย่ามองสิ่งผิดปกติ เป็นเรื่องปกติ


อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย 

สิ่งเหล่านี้ คือ "ความผิดปกติ" แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราเข้าใจว่า สิ่งที่ผิดปกติ คือ สิ่งปกติ นั่นหมายถึง อุบัติเหตุ กำลังรอเราอยู่ข้างหน้า

เราคงเคยเห็น เหตุการณ์ที่เราเห็นว่า เป็นปกติ แต่จริงๆแล้วมัน "ผิดปกติ" ไม่ว่าจะเป็น 

การขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า ขับรถย้อนศร มอเตอร์ไซค์ซ้อน 3 ไม่สวมหมวกกันน็อค  ขายของบนถนน ทำงานบนที่สูงไม่มีอุปกรณ์กันตก  เดินเล่นโทรศัพท์มือถือ

และที่น่ากลัวที่สุดตอนนี้ คือไม่สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5  เพราะเราเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องเจอทุกปี 

ข่าวบางข่าวก็ไม่ดี ออกมาให้ข้อมูลบอกว่า จริงๆแล้ว มี PM 2.5 มีมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ยอมบอกว่าหลายปีที่ผ่านมา มันไม่เลวร้ายไม่สกปรกขนาดนี้ 

จนเรามองว่า ฝุ่น มันเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆแล้ว มันไม่ปกติ  

คนบางคนทำงาน ตะบี้ตะบัน ทำทั้งวัน ไม่ได้พักผ่อน 

แต่ละปี มีเวลากินข้าวกับครอบครัว  2 วัน มีเครื่องบินส่วนตัว และมีแผนว่า จะพาลูกสาวไปเที่ยวทะเล 

จนวันนึง มีอาการปวดศีรษะ อย่างรุนแรง 


คุณหมอบอกว่า คุณเป็นมะเร็งที่สมอง 

ตอนนี้ สิ่งที่อยากจะทำ ทำไม่ได้ เพราะบ้างาน คิดว่า การทำงานหนักเป็นเรื่องปกติ ขาดความสมดุลงาน สมดุลชีวิต  

สิ่งนี้เรียกว่า  "ผิดปกติ  และผลที่ตามมาก็คือ  สุขภาพ และความปลอดภัยที่ต้องสูญเสียไป 

อย่าไปเชื่อว่า สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำ คือสิ่งที่ถูกต้อง ลองคิด ลองวิเคราะห์ดูว่า มันใช่ไหม? มันเกินพอดีหรือเปล่า? 

ความปลอดภัยก็เหมือนกัน ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด 

อะไรที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง นั่นคือ "ผิดปกติ"

ปราโมทย์โอภาสมงคลชัย 
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ 

ติดต่อ อบรมความปลอดภัย 
อบรมจิตสำนึกความปลอดภัยBBS
www.pramoteo.com

สั่งสินค้าความปลอดภัย
www.esafetythailand.com

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

การโค้ชเพื่อความปลอดภัย


หลายครั้งที่เราบอกให้พนักงานทำงานด้วยความปลอดภัย แต่เพราะเหตุใด เขาจึงยังทำงานไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม

สาเหตุหลักเกิดจาก การที่เรา "บอกมากเกินไป" จนเขาไม่ได้คิด

รวมถึง เขาอาจจะคิดว่านี่คือ "คำสั่ง" เขาจะทำตอนที่เราสั่ง แต่พอเราไม่สั่ง เขาก็ไม่ทำ

แบบนี้ไม่ยั่งยืน เดี๋ยวก็เกิดอุบัติเหตุอีก

วิธีการหนึ่ง ที่จะมาช่วยได้ก็คือ "การตั้งคำถามให้เขาคิด" หรือที่เรารู้จักกันว่า"การโค้ช"

จริงๆแล้วการโค้ชมีอะไรหลายอย่างที่เราจำเป็นต้องรู้ หัวใจสำคัญ คือ 

1. การฟัง
2. การตั้งคำถาม
3. การสะท้อน

นี่คือ 3 ปัจจัยสำคัญในบทความนี้ 

ตัวอย่างง่ายๆในการตั้งคำถาม 

ถ้าเราเห็นพนักงานทำงานด้วยความไม่ปลอดภัย 

- คุณเห็นอันตรายอะไรบ้างในการทำงาน?
- คุณคิดว่าอันตรายนี้ จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
- มีวิธีการใดบ้าง ที่ทำงานได้ปลอดภัยมากกว่านี้ ?
- คุณต้องการให้ผมช่วยเหลืออะไรบ้างไหม ?
- คุณคิดว่า ถ้าคุณทำงานด้วยความปลอดภัย จะมีผลดีอะไรบ้าง ?

คำถามเหล่านี้ เราสามารถนำมาใช้ได้ 

แต่การที่จะโค้ชใครได้นั้น สำคัญที่สุด คือ คนที่รับการโค้ช หรือ ที่เรียกว่า "โค้ชชี่" จะต้องเชื่อมั่นในตัวของโค้ชด้วย

นั่นหมายความว่า ต้องเป็นคนที่เขามีความเชื่อถือ โค้ชต้องเป็นคนดี และ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ช่วยให้เขารู้สึกเกิด "ความไว้วางใจ" กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น 

หลักการของการโค้ช ไม่ใช่เรื่องยาก แต่"ทักษะ"เป็นสิ่งยากกว่า โดยเฉพาะ "ทักษะของการฟัง" เพราะคนส่วนใหญ่ ฟังไม่เป็น

คนส่วนใหญ่ มักจะเชื่อว่า การสร้างความน่าเชื่อถือ เราจะต้องพูดเก่ง แต่จริงๆแล้วการฟังเก่ง ช่วยทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้ดีกว่า

เคยมั้ย ? ในวันที่เราทุกข์ใจ เรามีปัญหา เราต้องการคนพูดให้เราฟัง หรือว่าเราต้องการคนรับฟังเรา เพื่อให้เราได้ระบายความอึดอัดในใจออกมา

แค่มีคนรับฟัง เราก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว


คนที่ทำงานด้วยความไม่ปลอดภัยจริงๆแล้ว เขาเองก็ต้องการจะระบายความรู้สึกของตัวเองเหมือนกัน ที่อึดอัดกับเรื่องความปลอดภัย เพราะเรา

คนที่เป็นโค้ชจะต้อง เป็น "เพื่อนคู่คิด" และ ตั้งคำถามให้เขาฉุกคิด ตระหนักรู้ เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการทำงานอย่างปลอดภัยสำหรับเขา ด้วยตัวของเขาเอง

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ปราโมทย์โอภาสมงคลชัย

ติดต่ออบรมความปลอดภัย อบรมbbs
www.pramoteo.com

ผู้นำด้านความปลอดภัย Safety Leafership

การจัดการด้านความปลอดภัย ผู้นำด้านความปลอดภัยมีความสำคัญมาก 

โดยเฉพาะคนที่เป็นจป. วิชาชีพ ก็เป็นผู้นำเหมือนกัน ในบทความนี้ ผมขออนุญาต แบ่ง  ผู้นำด้านความปลอดภัย 3 แบบ

1.  ผู้นำแบบ Helicopter 
2.  ผู้นำแบบ Soldier
3.  ผู้นำแบบที่ปรึกษา

ผู้นำแบบ Helicopter 
จะคอยสอดส่องดูว่า ใครกำลังทำพฤติกรรมเสี่ยง พอเห็นแล้ว ก็จะเข้าจู่โจม ตำหนิทันที

ผู้นำแบบ Soldier
สั่งอย่างเดียวไม่สอนไม่บอก แต่บังคับให้ทำ ผู้นำแบบนี้ ทำให้ลูกน้องคิดไม่เป็น แล้วหมดความเชื่อมั่นในตัวเอง เขายอมทำเพราะกลัว ไม่ใช่เพราะเคารพ 

ผู้นำแบบที่ปรึกษา
รับฟังทุกปัญหา ให้คำแนะนำ ตั้งคำถามให้ฉุกคิด  ปลุกจิตสำนึกความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อง ให้เขาได้คิด ได้ตัดสินใจ และเลือกวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยที่เหมาะสมกับตนเอง

ผู้นำแบบ Helicopter และ Soldier 

นอกจาก จะไม่ช่วยสร้างความปลอดภัยที่ยั่งยืนแล้ว ยังทำลายความเชื่อมั่นในตัวเองของพนักงาน คนเราถ้าขาดความเชื่อมั่น ก็มักจะไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เขาก็จะไม่เห็นคุณค่าของความปลอดภัยด้วย 


ในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย อย่างยั่งยืน 

ผู้นำที่ดี ใช้หลักการเป็น "ที่ปรึกษา" ย่อมได้ผลดีที่สุด 

เพราะช่วยให้พนักงานรู้จักคิด และมีความเชื่อมั่นในตนเองคนเราถ้ามีความเชื่อมั่น จะทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ 

ทุกวันนี้เราเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยแบบไหน ?

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย

ติดต่ออบรมความปลอดภัย
www.pramoteo.com