วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

โรคจากภาวะอับอากาศ

โรคจากภาวะอับอากาศ


มีอาการแตกต่าง และ หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย 

เกิดความบกพร่องในการตัดสินใจ หรือ รับรู้ และ อาการกลัวที่แคบ (Claustrophobia) 

วันนี้ผมขอพูดถึงภาวะอับอากาศที่นำไปสู้โรคกลัวที่แคบก่อนนะครับ

โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)  

เกิดขึ้นเมื่อเราอยู่ในที่ซึ่งมีพื้นที่จำกัด คับแคบ หรือ เกิดความรู้สึกเหมือนถูกกักขัง 

เช่น ในลิฟท์ อุโมงค์ เครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ แม้กระทั่งบางพื้นที่ที่เราอาศัยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน หรือ โรงเรียน หรือ โรงแรม

สาเหตุ
เกิดจาการทำงานของสมองส่วนอะมิกดะลา(Amygdala) ในสมอง ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมคุม ปกป้องอันตรายให้กับเรา ทำงานผิดปกติ 

ทำการกระตุ้นเพื่อปกป้องมากเกินไป 
จนแสดงออกมาเป็นอาการกลัว อาการกังวลต่างๆออกมา 

ไม่ว่าจะเป็น อาการหายใจไม่อิ่ม ตื่นตระหนก ตกใจ กล้ามเนื้อเกร็ง มีไข้ต่ำๆ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย


ถ้าอยู่ในที่แคบ ก็จะพยายามเอาตัวเองไปชิดกับผนัง สั่นกลัว หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว ปากซีด ท้องไส้ปั่นป่วน หรือ พานิคได้

การที่อะมิกดะลา(Amygdala) ทำงานมากเกินไปนั้น อาจเกิดจากมีจดจำประสบการณ์ร้ายๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจาก ที่แคบ ที่อับอากาศ หรือ ที่อื่นๆ

ผู้ป่วยหรือ มีภาวะดังกล่าว ห้ามลงไปทำในในที่อับอากาศเด็ดขาด!

การรักษา

-เข้ารับการรักษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม Cognitive behavioral therapy (CBT)

-รับการรักษาทางการแพทย์

- ผ่อนคลายด้วยการมองธรรมชาติ

-ฝึกเผชิญหน้าความกลัวทีละเล็กทีละน้อย
 
เป็นห่วงนะครับ…

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
ติดต่องาน/โฆษณา

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

นิสัย พฤติกรรมความปลอดภัย Tiny Habits

การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย Tiny Habit: BJ Fogg

 

Source : BJ fogg

กราฟนี้ เกิดจากงานวิจัยของ Dr. Fogg  มหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ดใน Behavior Lab ของมหาวิทยาลัย

โดยเขามีความเชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจาก 

 

M: Motivation แรงจูงใจ 

A: Ability to do ความสามารถ

P :Prompts : สิ่งเร้าหรือกระตุ้น

 

เราสามารถทำนายพฤติกรรมได้ว่า พฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น  โดยการพล็อตกราฟแล้ว หากปรากฏว่าจุดตัดของ Motivation และ Ability สูงกว่า Action line นั่นหมายความว่าพฤติกรรมนี้ "เกิดขึ้น" ได้

 

แต่หากจุดตัดของ Motivation และ Ability ต่ำกว่า Action line นั่นหมายความว่า พฤติกรรมนี้จะ "ไม่เกิดขึ้น"

จะเห็นได้ว่า "ถ้ามีแรงจูงใจสูงและ มีความสามารถที่จะทำได้ง่าย" โอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมนั้นก็ "เป็นไปได้"

ในทางกลับกัน "ถ้ามีแรงจูงใจต่ำและ ทำได้ยาก" โอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมนั้นๆก็ "เป็นไปไม่ได้"

หากมองเรื่องปัญหาจราจรในประเทศของเรา

 

การที่ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรนั้น มีสาเหตุมาจากอะไร เพราะอะไรเขาถึงทำแบบนี้ 

เราสามารถใช้โมเดลและกราฟนี้ในการประเมินได้ว่า สาเหตุเกิดจาก

 

 

การทำผิดกฎหมายทำได้ "ง่าย" (Easy to do) การไม่สวมหมวกกันน็อคมันสบายกว่าสวมใส่ 

กลับรถในที่ห้ามกลับรถ หรือ ขับขี่ย้อนซ้อนก็ทำได้ง่าย เพราะไม่ต้องขับไปกลับรถไกลๆ

 

และ ยังมีสิ่งที่กระตุ้นให้ทำผิดกฎหมายก็เพราะว่า ไม่มีใครว่า ไม่มีคนมาดักจับ  (ไม่มี Prompts) อย่างทั่วถึง

และสำคัญมากๆ คือ เคยทำมาหลายครั้งแล้ว ก็ไม่เป็นไร ไม่โดนจับ 

จึงเชื่อว่าทำได้ทำให้ "มีแรงจูงใจสูง" (High Motivation) ในการกระทำผิด

นี้คือสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนจราจรมากมาย แทบทุกวัน

ส่วนวิธีการแก้ปัญหานั้นทำได้โดย

ก็ต้องทำให้มี "แรงจูงใจเกี่ยวกับความปลอดภัยสูง" และ "ปฏิบัติตามความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น" และ ต้องมีตำรวจคอย "ยืนกระตุ้น" จุดที่จะเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย หรือติดกล้องวงจรปิดปรับกันจริงๆ 

รวมไปถึงวิธีการเสริมแรงบวก อาจจะยืนสอนเหมือนตำรวจญี่ปุ่น

โดยตำรวจในญี่ปุ่น จะจับผู้ที่ทำผิดกฎหมายแล้ว ยืน "สอน" จนคยที่ฝ่าฝืนกฎจราจร "เข้าใจ ยอมรับ" แล้วจึงปล่ยให้ขับรถออกไปได้


สำหรับความปลอดภัยในโรงงาน หรือ สถานประกอบการนั้น

ก็สามารถใช้โมเดลนี้ได้ครับ

1. ดูสิว่า ทุกวันนี้แรงจูงใจ (Motivation) ในเรื่องความปลอดภัยของพนักงานเป็นอย่างไรสูงหรือต่ำ?

2.มีอะไรบ้างที่เป็นตัวกระตุ้น(Prompts)ให้เขาทำงานด้วยความปลอดภัย ?

3.ความปลอดภัยที่เราสร้างมาตรฐานให้เขาปฏิบัตินั้นง่ายหรือยากเกินไป (Ability)?

ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

___________________________

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

www.pramoteo.com

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

แผ่นปูนที่กลับรถ ถนนพระราม 2 หล่น สังเวย 2 ศพ

ความปลอดภัยอยู่ที่ไหน❗

🔥เกิดอุบัติเหตุ คานปูนหนัก 5 ตัน โครงการซ่อมสะพานกลับรถ กม. 34 ถนนพระราม 2 ขาเข้ากรุงเทพฯ 

ร่วงทับรถยนต์ 3 คัน เบื้องต้นเสียชีวิต 2 ราย

เบื้องต้นมีข้อมูลมาว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้วเคยเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกไฟไหม้ข้างบน 

ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างของสะพานเสียหาย 

แต่วิศวกรตรวจแล้วบอกว่าไม่จำเป็นต้องรื้อถอน ยังสามารถใช้งานได้ 

แล้วก็มีอีกหนึ่งเหตุการณ์มอเตอร์ไซค์แหกโค้งเสียชีวิตบนนั้นครับ 

ผู้รับผิดชอบ บอกว่าได้ทำการปิดกั้นพื้นที่ไว้แล้ว

ที่มาข่าวจากช่อง8 ครับ

ขับขี่การระมัดระวังหน่อยนะครับ

เครดิตภาพ : PPTV

#ความปลอดภัยของคนไทยอยู่ที่ไหน
#พระรามสอง
#สะพานกลับรถ

The Safety Coach

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

แรงจูงใจด้านความปลอดภัย ไว้ใจไม่ได้

"แรงจูงใจ" เป็นเรื่องที่ไว้ใจไม่ได้

เรามักจะกำหนดพฤติกรรมคน ด้วยแรงจูงใจ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องของแรงจูงใจในเรื่องความปลอดภัยนั้น 

บางครั้ง ก็เป็นเรื่องที่ "ไว้ใจ" ไม่ได้  

แต่เรื่องของ "ตัวกระตุ้น"นั้นไว้ใจได้เสมอ

เรารู้ว่าสิ้นปี ถ้าไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน เราจะได้โบนัสพิเศษ

แต่ก็ยังไม่มีใครสนใจ และก็ยังทำพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

แต่หากเรา ออกไปสังเกตความปลอดภัย อย่างสม่ำเสมอ 

นั่นแหล่ะ คือ ตัวกระตุ้นที่ดีกว่าแรงจูงใจ !

แม้ว่าสิ้นปี จะไม่มีโบนัสพิเศษ ที่แจ้งไว้

เขาก็ปฏิบัติตามความปลอดภัย

เพราะเราออกไป กระตุ้น   ไปสังเกต และ ตรวจสอบ ตลอดเวลา

คล้ายๆกับเวลาที่เราจะสอบปลายภาค นั่นแหล่ะ 

เรารู้ว่า การสอบ ต้องอ่านหนังสือ และการสอบผ่านนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

แต่ปรากฏว่าเรามาอ่าน "วันสุดท้าย"😑

เพราะอะไร?

เพราะเวลาที่เหลือน้อยนั้น คือ "ตัวกระตุ้น"นั่นเอง 

ทุกวันนี้ เราใช้อะไรบ้างเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยครับ ?

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
ติดต่ออบรม
หรือ แอดไลน์ @thesafetycoach

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

อันตรายจากน้ำแข็งแห้ง


อันตรายจากน้ำแข็งแห้ง 

ผมเคยไปสอนการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัยที่บริษัทแห่งหนึ่ง

และได้พูดถึงอันตรายของก๊าซ CO2 

🔹ภายหลังการพูดจบ มีผจก.ท่านหนึ่ง ได้เล่าให้ผมฟังว่า

วันก่อนเขา พาลูกสาว 6 ขวบไปซื้อไอศครีมมาเลี้ยงวันเกิด ในขณะที่ขับรถกลับบ้าน

ลูกสาวมีอาการกระสับกระส่าย ร้องไห้ โดยไม่ทราบสาเหตุ

ส่วนเขาก็มีอาการวูบๆ ง่วงๆ จะหลับๆ จึงตัดสินใจเปิดหน้าต่าง 

และ สถานการณ์ก็กลับมาดีเป็นปกติ

เขาบอกว่า เขาซื้อไอศครีมมา และ เอาน้ำแข็งแห้งมาไว้ในรถด้วยจำนวนมาก

น้ำแข็งแห้ง ทำมาจาก CO2 เมื่อเกิดการระเหิด จะกลายเป็นไอ

และขยายตัวได้มากกว่า 500 เท่า 

ทำให้ CO2 กระจายเต็มรถ จนขาดอากาศหายใจได้ 

CO2 เป็นก๊าซ Poor warning คือ แทบจะไม่มีการเตือนเราเพราะ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้มึนงงหมดสติโดยไม่รู้ตัว

CO2 สามารถแทนที่เข้าไปในเม็ดเลือดได้ดีกว่าออกซิเจน

ทำให้เม็ดเลือด ที่ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆของร่างกายไม่มีออกซิเจน

และ ถ้าหัวใจ หรือ สมองขาดออกซิเจน ก็ทำให้เราตายได้

⭐นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ 

เขามีอาการง่วง และลูกสาวคงจะรู้สึกกระสับกระส่ายเพราะไม่มีอากาศหายใจ

จึงร้องไห้โดยไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร

บรรยากาศปกติมี CO2 อยู่ที่ 0.03% และหากมี CO2

2-4% ทำให้หายใจติดขัด

5% คลื่นไส้เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก

5-9 % หายใจลำบาก ขาดสติ

>9% เสียชีวิต

🔹ก่อนหน้านั้น

เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย 

โดยมีการจัดปาร์ตี้โดยใส่น้ำแข็งแห้งลงไปในสระว่ายน้ำเพื่อให้เกิดควัน

และผลที่ตามมาก็คือว่า ความสุขกลายเป็นความโศกเศร้า

มีคนเสียชีวิต 2 คน และอีกหลายคนมีอาการโลหิตเป็นพิษ เนื่องจากสูตรเอาก๊าซ Co2 จากน้ำแข็งแห้งเข้าไป 

รวมไปถึงผิวหนังไหม้ เนื่องจากสัมผัสกับน้ำแข็งแห้งโดยตรง

❓คำถาม

1.เราเคยรู้มาก่อนหรือไม่ว่าน้ำแข็งแห้งมีอันตราย กินไม่ได้ห้ามสัมผัสโดยตรง หรือสูดดมโดยเฉพาะในพื้นที่แคบๆ?

2. บุตรหลานของเราทราบอันตรายเหล่านี้หรือยัง หรือเรายังปล่อยให้เขาเล่นน้ำแข็งแห้งตามปกติ?

3. ทางสถานประกอบการของเรา มีผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับน้ำแข็งแห้งหรือไม่ และเขาได้ทราบขั้นตอนความปลอดภัยหรืออันตรายของน้ำแข็งแห้งหรือยัง?

4. อะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากกว่านี้?

อุบัติเหตุมีไว้เรียนรู้
ความปลอดภัยมีเรื่องป้องกัน

ขอบคุณนะครับ

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

#น้ำแข็งแห้ง
The Safety Coach
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

ติดต่ออบรมความปลอดภัยในการทำงาน
www.pramoteo.com