วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อันตรายจากงานในโรงหลอม และ การหลอมโลหะ




ภาพ : www.nezavisne.com


คนงานหลายคนในโรงหลอมสัมผัสมลภาวะทางอากาศในการทำงาน เช่น. ควัน, ฝุ่น, SPM, RSPM, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ออกไซด์ของไนโตรเจน, ไฮโดรคาร์บอน และ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว, แคดเมียม, โครเมียม, สารหนุ และนิเกิ้ล การสัมผัสสารปนเปื้อนเหล่านี้เป็นระยะเวลาที่ยาวย่อมนานส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น โลหะหนัก ทำให้เกิดอาการเป็นพิษได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การแพร่กระจายของก๊าซและฝุ่นบางชนิดอาจเป็นสาเหตุอันดับแรกของอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน (Occupational health hazards)ในอุตสาหกรรมการหลอมโลหะและพื้นที่รอบๆ ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคฝุ่นจับปอด (Black lung), ไข้จากโลหะ, โรคปอดฝุ่นหินทราย (silicosis), โรคปอดจากการประกอบอาชีพ(pneumoconiosis) เป็นต้น
ภาพ : www.alha.org

ทั้งหมดนี้เป็นอนุภาคที่สามารถหายใจเข้าไปได้ อันตรายบางอย่างโดยทั่วไปเกิดจากการสัมผัสกับร่างกายและมีอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
  • ระคายเคืองตา
  • ปวดศีรษะ
  • ระคายเคืองคอ และจมูก
  • ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
  • ไฮโดรเจนซัลไฟด์, แอมโมเนีย และเมอแคปเทนส์ สามารถทำให้เกิดการความรำคาญในการได้กลิ่นแม้ว่าจะมีความเข้มข้นต่ำ
  • อุณภูมิที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความเมื่อยล้า และสูญเสียน้ำในร่างกายได้
  • อาการเรื้อรังของโรคปอดอักเสบ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, หอบหืด เกิดจากการหายใจก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์ และโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ เข้าไปในระดับที่ความเข้มข้นสูง
  • คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถเข้าสู่ฮีโมโกบินในเลือดได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดความทรมานต่อหัวใจและปอด
  • อนุภาคของฝุ่นทำให้เกิดโรคปอดที่เกิดจากฝุ่น ทราย, แอสเบสโซซิส ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอนุภาค และเส้นใย
  • สารบางตัวเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น PAH’s, Cr(VI) และ แคดเมียม
  • ไฮโดรเจนฟูลออไรค์ ทำให้เกิดโรคที่กระดูก (fluorosis) และเกิดรอยที่ฟันได้ (mottling of teeth)
  • โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว, แคดเมียม, ปรอท, โครเมียม, นิเกิ้ล, แมงกานีส สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ, ดูดซึมทางผิวหนัง, หรือการกลืนกินโดยผ่านทางห่วงโซ่อาหาร เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน และเรื้อรังได้
จำไว้ว่า : งานหลอมโลหะอันตรายต่อสุขภาพมากถ้าขาดมาตรการป้องกันที่ดีพอ

เรียบเรียงโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และวิทยากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย


References :
ภาพ
เนื้อหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น