วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

โรคจากการประกอบอาชีพ โรคจากสิ่งแวดล้อม

โรคจากการประกอบอาชีพ มีผลต่อสุขภาพ อย่างไร?

โรคจากการประกอบอาชีพ หรือ Occupational  disease ก่อให้เกิดความผิดปกติ ต่อสภาพร่างกาย หรือ จิตใจ 

เช่น มะเร็ง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ โรคเครียด 

หรือ ภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการที่มีประสบการณ์ที่เลวร้ายหนักๆ 

สาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อม และกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน 

โดยกลุ่มคนที่ทำงานในลักษณะ หรือ สภาพแวดล้อมคล้ายกัน 

ก็มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพคล้ายๆกัน 

โดยขึ้นอยู่กับการสัมผัสมาก น้อย บ่อย หรือ ถี่ แค่ไหน

ผมเคยมีโอกาสไปพูดเรื่องโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง 

และทราบว่า พนักงานสูญเสียการได้ยินเป็นจำนวนมาก

โดยพนักงานเหล่านั้นทำงานในสภาพแวดล้อมเดียวกัน 

ลักษณะงานคล้ายๆกัน สัมผัสเสียงอยู่ในระดับพอๆกัน มีความถี่ความบ่อยใกล้เคียงกัน

จึงสรุปได้ว่า พนักงานเหล่านี้ที่สูญเสียการได้ยิน 

อันเนื่องมาจากเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ หรือ Occupational disease นั่นเอง

หากมัวแต่สนใจในการป้องกันอุบัติเหตุ 

ก็อาจจะทำให้ หลงลืมเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจาก

โรคจากการประกอบอาชีพ

#โรคจาการทำงาน
#โรคจากการประกอบอาชีพ
#โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

The Safety Coach : BBS 
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่ออบรม www.pramoteo.com
LINE @thesafetycoach

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

อันตรายจากงานเชื่อม

ช่างเชื่อมหายใจฟูมโลหะเข้าไปปริมาณเท่าไร ต่อปี  ?

จากข้อมูลของ Bureau of Labor Statistic 

พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากงานเชื่อมมากกว่า 5 แสนคน ต่อปี และ ใน 4 คน ของ 1,000 คน มีความเสี่ยงต่อการ เสียชีวิต 

นอกจากนั้นยังมีอันตรายอื่นๆมากมาย

 - ระบบทางเดินหายใจ 
 - รังสี 
 - เสียงดัง
 - ความร้อน
 - ดวงตา และใบหน้า
 - การยศาสตร์
 - ไฟฟ้า
 - อัคคีภัย
-  แรงดันของแก้ส

จากการศึกษาในประเทศออสเตรเลียพบว่า 

การหายใจเอาฟูมโลหะไปมากกว่า 11 กรัม/ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดอีกด้วย

กลับมาสอน  Welding Hazards อีกครั้ง  

นำประสบการณ์
ที่เคยเรียนมาจากสวีเดน และ อเมริกา มาแบ่งปันครับ

#ความปลอดภัยในงานเชื่อม
#อันตรายจากงานเชื่อม

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

Dojo Safety คือ

Dojo Safety คือ

สถานที่จำลองฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ 

และ วิธีการป้องกันในการทำงานจริงๆในโรงงาน

โดยออกแบบสถานที่ อุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับการทำงาน 

เช่น อันตรายที่เกิดจากเครื่องจักร วิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ว่าทำให้บาดเจ็บอย่างไรบ้าง

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่ผู้เข้าฝึกอบรมต้อง

1. สวมใส่ PPE 

2. ให้เกียรติกัน ไม่หยอกล้อกัน

3. ตั้งใจฝึกอบรม

4. จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย

5. เคารพกฎกติกา ในการฝึกอบรม

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

แทนที่คำว่า Accident ด้วยคำว่า Injury

ความหมายของคำว่า injury

ตอนนี้สาธารณสุขทั่วโลกกำลังให้ความหมายของคำว่า injury แทนที่คำว่า Accident 

เนื่องจาก Accident คือ เหตุการณ์ที่ "ไม่คาดคิด ไม่คาดฝัน" 

ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย 

ก็เพราะมีคำว่า "ไม่คาดคิด ไม่คาดฝัน" นั่นเอง 

ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า

การป้องกัน ย่อมเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้

แต่คำว่า Injury นั้น ไม่ได้ระบุไว้ว่า คือ เหตุการณ์ที่ "ไม่คาดคิด ไม่คาดฝัน"

นั่นหมายความว่า Injury คือ สิ่งที่เราสามารถ"ป้องกันได้" เพราะคาดคิดล่วงหน้าได้

เพื่อส่งเสริม ให้เรื่องความปลอดภัย ออกมาเป็นเชิงบวกมากขึ้น และเพื่อให้เชื่อว่า

การได้รับบาดเจ็บ "สามารถป้องกันได้ "

เหมือนปรัชญา ข้อ 1 ที่เราเคยได้ยินว่า 

All injuries and Occupational illness can be prevented

การได้รับบาดเจ็บ และโรคจากการทำงาน สามารถป้องกันได้

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

จป.ขึ้นกับ HR ดีมั้ย

จป.ขึ้นกับ HR ดีมั้ย?

น้องจป.คนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าน้องขึ้นตรงกับ HR 

แต่ฝ่าย HR ไม่สนับสนุนเรื่องของความปลอดภัยเลย 

เสนออะไรไป เรื่องก็จะสุดแค่ HR manager ไม่ขึ้นไปถึงผจก.โรงงาน

ด้วยเหตุผล ที่ไม่อยากให้ ผจก.โรงงาน ได้รับรู้ถึงปัญหา  

และ มองว่าความปลอดภัย คือ ค่าใช้จ่าย ปัญหาก็ยังคาราคาซัง เหมือนเดิม

สุดท้าย 

น้องก็เบื่อมาก อยากจะลาออก

ส่วนน้อง จป.อีกคนหนึ่ง ขึ้น ตรงกับ HR เหมือนกัน

แต่ผจก.ฝ่าย HR สนับสนุนทุกเรื่อง 

หลายเรื่อง ผจก.HR จัดการเองเลย ไม่ต้องให้เรื่องไปถึงผจก.โรงงาน

พี่ ผจก. HR ท่านนี้เล่าให้ฟังว่า

เคยมีประสบการณ์ เจอคนบาดเจ็บ และ คนเสียชีวิต มันเสียเวลา และเสียหายมาก...

หลายคน อาจจะมองเป็นเรื่องของเซฟตี้ 

แต่ในเรื่องของสวัสดิการ หรือ ค่าทำขวัญ หลังอุบัติเหตุ HR ก็ต้องดูแล 

ยิ่งอุบัติเหตุ ที่ถึงขั้นร้ายแรง หรือ เสียชีวิต โดยเฉพาะกับแรงงานต่างด้าวนั้น

เรื่องราวใหญ่โตมาก ต้องบินข้ามประเทศ!

เพื่อไปจัดการเรื่องผลประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกจ้างจะต้องได้รับ

มันเหนื่อยจริงๆ

ดังนั้น

จึงจำเป็นต้องป้องกันไว้ก่อน เพราะ อุบัติเหตุ คือ ความสูญเสีย ที่ไม่ใช่แค่ผลผลิต 

แต่รวมถึงเสียเวลา ในการบริหารจัดการ และมีค่าใช้จ่ายต่างๆมากมาย โคตรเหนื่อย!

หากคิดว่าความปลอดภัย คือค่าใช้จ่าย ลองนึกถึงค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยดูสิ

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

Safety Momemt Talk

Safety Moment Talk คือ อะไร?

Safety Moment talk คือ การพูดเรื่องความปลอดภัยสั้นๆ ไม่เกิน 2 นาที "ก่อน" ทุกๆการประชุม

เพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

อันตราย ความเสี่ยง อุบัติการณ์ หรือ safety success story เพื่อนำไปสู่ Culture of Safety

💭 ผู้รับเหมาคนหนึ่ง ตกลงมาจากหลังคาของคลังสินค้าที่สูง 8 ม. 

ขณะที่ขึ้นไปซ่อมหลังคากระเบื้อง

โดยผู้รับเหมา ทำการวางแผ่นกระดานไว้ สำหรับเหยียบบนหลังคาเพื่อป้องกันกระเบื้องแตก

แต่ปรากฏว่า จุดที่จะซ่อมแซมนั้น อยู่เลยแผ่นกระดานที่วางไว้

จึงตัดสินใจ เหยียบบริเวณหัวน็อตของโครงหลังคาแทน

แต่ปรากฏว่าเหยียบพลาด

ทำให้กระเบื้องแตก จึงตกลงมา 

จากที่สูง 8 เมตร!

โชคดีที่ไม่บาดเจ็บสาหัส 

เนื่องจาก กระแทกโดนกล่องสินค้า ที่อยู่บนพาเลท ก่อนที่จะตกลงถึงพื้น 

ภายหลังการสอบสวนอุบัติเหตุพบว่า 

1.ทำงานเพียงลำพัง 
2.ไม่ประเมินความเสี่ยงก่อน 
3.ไม่ขอใบอนุญาตการทำงาน

แต่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด คือ 

"สนิทสนม"กับ หัวหน้างานของบริษัทมากเกินไป 

จึง "อะลุ่มอล่วย" ให้กับความปลอดภัยในการทำงาน 

"Safety is not compromise"

คุณจะต่อรองอะไรกับก็ได้ แต่เรื่องความปลอดภัย ไม่มีการต่อรอง

ลองนำไปใช้ในบริษัทกันดูนะครับ

วันหนึ่งมีการประชุม ตั้งหลายการประชุม 

แค่แทรก Safety Monent ไปไม่ถึง 2 นาที

อะไรๆก็คงจะดีขึ้นครับ

#safetymoment
#safetystorytelling 

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

เทคนิคการสอนเรื่องความปลอดภัย

การสอนเรื่องความปลอดภัย จะต้อง

1.ชี้ให้เห็นอันตราย
2.ผลที่ตามมา 
3.วิธีการในการป้องกัน
4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

การบรรยายได้ความรู้ 

แต่การเล่าเรื่องจะได้ทั้ง"ความรู้ "และ "ความรู้สึก"

"ความรู้" มีผลน้อยนะต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

แต่ "ความรู้สึก" สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมาก

การเล่าเรื่อง เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึก และการจดจำ

คล้ายๆเหมือนเราที่ตอนนี้ ยังจำนิทานสมัยเด็กๆได้ นั่นเอง

พนักงานคนหนึ่ง...

ใช้ท่อดูดสารเคมี ทิ่มเข้าไปในปากแกลลอนแอมโมเนีย 

เพื่อดูดแอมโมเนียลงในถังผสม

แต่แล้ววันหนึ่ง

แอมโมเนียพุ่งออกมาจากแกลลอน ขณะที่ใช้ท่อดูดทิ่มลงไป

แอมโมเนีย กระจายกระเด็นโดนตัวพนักงาน ปวดแสบ ปวดร้อนไปหมด

ต้องรีบถอดเสื้อออก 

เพื่อนต้องเอาสายยางมาฉีด เพื่อชำระล้าง

ส่วนผู้บาดเจ็บ ถอดเสื้อผ้าออกหมด รวมถึงกางเกงในก็ไม่มี

ต้องใช้มือปิดเป้าไว้ ทำให้เพื่อนๆรู้ว่า "ตูดดำ" มาก

สาเหตุเกิดจาก

แกลลอนแอมโมเนียในช่วงฤดูร้อนมัน "บวม"

เพราะอากาศร้อน ทำให้ขณะที่เราทิ่มท่อสารเคมีลงไปในปากแกลลอน

มันจะเกิดแรงดันมากกว่าปกติ 

ทำให้แอมโมเนียพุ่งขึ้นมา และก็กระเด็นโดนร่างกาย

ดังนั้น 

ก่อนทำงานต้องสังเกตให้ดีว่า แกลลอนแอมโมเนียบวมหรือเปล่า?

รวมไปถึงแจ้งทางผู้ขนส่งด้วยว่า ให้เอาผ้าใบปกคลุม เพื่อป้องกันความร้อน

และจะไม่รับแกลลอนที่บวมเข้ามาในที่ทำงานเด็ดขาด

อันนี้เป็นตัวอย่างของการเล่าเรื่องความปลอดภัยครับ

ที่ไม่ใช่ได้แค่ความรู้ แต่ได้ความรู้สึกด้วย

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

Safety Moment Talk คือ อะไร?

Safety Moment Talk คือ อะไร?

Safety Moment talk คือ การพูดเรื่องความปลอดภัยสั้นๆ ไม่เกิน 2 นาที "ก่อน" ทุกๆการประชุม

เพื่อสร้างความตระหนัก และส่งเสริมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

อันตราย ความเสี่ยง อุบัติการณ์ หรือ safety success story เพื่อนำไปสู่ Culture of Safety

💭 ผู้รับเหมาคนหนึ่ง ตกลงมาจากหลังคาของคลังสินค้าที่สูง 8 ม. 

ขณะที่ขึ้นไปซ่อมหลังคากระเบื้อง

โดยผู้รับเหมา ทำการวางแผ่นกระดานไว้ สำหรับเหยียบบนหลังคาเพื่อป้องกันกระเบื้องแตก

แต่ปรากฏว่า จุดที่จะซ่อมแซมนั้น อยู่เลยแผ่นกระดานที่วางไว้

จึงตัดสินใจ เหยียบบริเวณหัวน็อตของโครงหลังคาแทน

แต่ปรากฏว่าเหยียบพลาด

ทำให้กระเบื้องแตก จึงตกลงมา 

จากที่สูง 8 เมตร!

โชคดีที่ไม่บาดเจ็บสาหัส 

เนื่องจาก กระแทกโดนกล่องสินค้า ที่อยู่บนพาเลท ก่อนที่จะตกลงถึงพื้น 

ภายหลังการสอบสวนอุบัติเหตุพบว่า 

1.ทำงานเพียงลำพัง 
2.ไม่ประเมินความเสี่ยงก่อน 
3.ไม่ขอใบอนุญาตการทำงาน

แต่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด คือ 

"สนิทสนม"กับ หัวหน้างานของบริษัทมากเกินไป 

จึง "อะลุ่มอล่วย" ให้กับความปลอดภัยในการทำงาน 

"Safety is not compromise"

คุณจะต่อรองอะไรกับก็ได้ แต่เรื่องความปลอดภัย ไม่มีการต่อรอง

ลองนำไปใช้ในบริษัทกันดูนะครับ

วันหนึ่งมีการประชุม ตั้งหลายการประชุม 

แค่แทรก Safety Monent ไปไม่ถึง 2 นาที

อะไรๆก็คงจะดีขึ้นครับ

#safetymoment
#safetystorytelling 

The Safety Coach
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Line: @thesafetycoach 
Youtube : The Safety Coach TH
Podcast : The Safety Coach

Safety Patrol ต่างจาก Safety Observation อย่างไร


🔸Safety Pattrol 

คือ การที่กลุ่มคน หรือ บุคคลใดก็ตาม 
ออกมาเดินสำรวจความปลอดภัยอย่าง"เฉพาะ"เจาะจง

เพื่อ"ตรวจสอบ"ว่า "พื้นที่" "อุปกรณ์" และ "วิธีการทำงาน"นั้นๆ

เป็นไปตาม"มาตรฐาน"ความปลอดภัยที่กำหนดไว้หรือเปล่า

🔸Safety Observation  

คือ การสังเกตความปลอดภัย
อาจจะเป็นกลุ่มหรือคนเดียวก็ได้ 

โดยมีวัตถุประสงค์ใน การค้นหาอันตราย จาก"พฤติกรรม" และ"สภาพแวดล้อม" ที่เสี่ยง

แล้วทำการชี้บ่งอันตราย และแก้ไขทันที ทั้งสองอย่างมีความคล้ายคลึงกันมาก

และหลายครั้งเวลาที่เราเดินออกมา เราก็ทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน ควบคู่ไปด้วยอยู่แล้ว โดยไม่รู้ตัว👍

อย่างไรก็ตาม
ขอให้ทำเถอะครับ🙏

The Safety Coach : BBS 
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ติดต่องาน หรือ อบรม
www.pramoteo.com
Podcast : The Safety Coach