วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ที่บ้านไม่ให้เรียนอาชีวอนามัยฯ กลุ่มใจมากเลยครับ


ผมสอบติดอาชีวอนามัย และ ความปลอดภัยครับ แต่ที่บ้านไม่อยากให้เรียน 

พ่อบอกว่า เงินเดือนน้อย แล้วที่บ้านเอง ก็มีภาระด้านการเงินค่อนข้างมาก ผมควรทำยังไงดีครับ?

พี่ไม่รู้ว่าน้อง จะต้องทำอย่างไร ? แต่ดูแล้วทางบ้านของน้อง ต้องการ ให้น้องจบมามีเงินเดือนมากๆ 

ซึ่งจริงๆแล้ว เงินเดือนของจป.เอง ก็ไม่น้อยนะ อาจจะน้อยกว่าวิศวกร 10-20% แต่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง เพราะ กม.บังคับ

ถ้าน้องบอกว่ากลุ้มใจมาก ก็หมายความว่า น้องอยากจะเรียนสาขานี้ แต่ที่บ้าน ไม่เห็นด้วย 

การได้เรียน หรือ ทำงานที่ตัวเองไม่รัก ชีวิตย่อมที่จะหาความสุขได้ยาก 

ถ้าจะแก้ปัญหาด้านการเงิน โดยพึ่งพารายได้จากเงินเดือนอย่างเดียวนั้น คงไม่ถูกต้องทั้งหมด อาจจะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการการเงิน ใหม่ 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การลดค่าใช้จ่าย เพิ่มการลงทุน หารายได้เพิ่ม และ มีความฉลาดทางการเงิน

การหารายได้เพิ่มนั้น ปัจจุบันมีช่องทางให้เลือกจำนวนมาก ไม่ใช่แค่รอรับจากเงินเดือนทางเดียวเท่านั้น 

น้องลองดูสิครับว่า เรามีความสามารถอะไร ที่มันสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ไม่ว่าจะเป็น Youtuber, Blogger, สอนออนไลน์ หรือค้าขายออนไลน์ก็ตาม ทุกอย่างได้เงินทั้งนั้น 

ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ 

ลองดูนะครับว่า เราจะช่วยแก้ปัญหาทางการเงินที่บ้านได้อย่างไร ในขณะที่เรากำลังเรียนหนังสืออยู่ ไม่ต้องรอเรียนจบอีกตั้ง 4 ปี มันน่าภาคภูมิใจกว่าเยอะเลยครับ 

พี่อยากจะบอกว่า พี่เจอหลายคนที่จบอาชีวอนามัยฯมา แล้วพัฒนาตัวเอง จนมีรายได้มากกว่าก่อนหน้านั้น ที่เคยเป็นจป. วิชาชีพเสียอีก 

ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษา โค้ช วิทยากร หรือเป็นเจ้าของกิจการ ต่างๆ ที่ให้บริการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายได้ดีๆกันทั้งนั้น 

แต่ไม่ได้หมายความว่า ต้องออกมาทำอาชีพอื่น  เพราะจริงๆแล้ว ยังมีหลายคนที่เป็น จป. วิชาชีพ ที่พี่รู้จักหลายคนมีรายได้ 6 หลัก บางคนมีรายได้ครึ่งล้านด้วยซ้ำ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เงินเดือนจะมาก เงินเดือนจะน้อย มันแปรผันตรงกับความสามารถของเรา 

ถ้าเรามีความสามารถน้อย เงินเดือนเราก็น้อย แต่ถ้าความสามารถเรามาก เงินเดือนก็มาก 

โลกใบนี้มีกติกาที่ชัดเจน หากอยากได้เงินเดือนมากๆ ก็ต้องพัฒนาตัวเองครับ 

ถึงแม้ตอนนี้ยังเรียนไม่จบ อะไรที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่บ้าน ช่วยเพิ่มรายได้ที่บ้านได้ ก็ให้ลงมือทำครับ 


เราต้อง "มีดวงตาเห็นทำ" เห็นอะไรที่ช่วยพ่อแม่ได้ ก็ลงมือทำทันที 

การเรียนไม่ได้เป็นสิ่งที่การันตีว่า เราจะประสบความสำเร็จในชีวิต 

การลงมือทำให้มาก อดทน ขยันขันแข็ง ไม่ย่อท้อไม่ยอมแพ้ต่างหาก ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ 

ทุกอาชีพประสบความสำเร็จได้ครับ ถ้าเราเอาจริง มันไม่เกี่ยวเลยครับว่า เป็นจป. วิชาชีพแล้วเงินเดือนน้อย 

ขอให้เป็น คนเก่ง คนดี คนมีความสามารถและ อยู่ในที่ที่เหมาะสมกับความสามารถของเรา ชีวิตก็ประสบความสำเร็จได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
ติดต่ออบรม www.pramoteo.com

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

ท่านใดสนใจหนังสือที่ผมเขียน
สามารถสั่งได้ที่
หรือ Facebook : The Safety Coach

ถังดับเพลิงระเบิดได้มั้ย?

ถังดับเพลิงระเบิดได้มั้ย?

เร็วๆนี้ หลายคนน่าจะได้ยินข่าว "การเสียชีวิต" ของเจ้าของร้านรับเติมเคมีดับเพลิงแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง

ในขณะที่กำลังอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในถังดับเพลิง 

หลังเกิดเหตุพบว่า ที่ก้นถังดับเพลิง "ทะลุเป็นรู" เนื่องจากแรงดันภายในที่เพิ่มขึ้น 

สาเหตุคาดว่า ถังดับเพลิงดังกล่าว "มีสภาพเก่า เป็นสนิม" และได้รับแรงอัดจากก๊าซไนโตรเจนลงไป ในขั้นตอนสุดท้าย 

ทำให้เกิดการระเบิด จนนำไปสู่โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ 

ภรรยาของผู้เสียชีวิต เล่าให้ฟังว่า

เคยบอกสามีไปแล้ว หลายครั้งว่า "ไม่ให้รับถังดับเพลิงเก่าๆ ที่เป็นสนิม หรือชำรุด" มาเติมเคมีดับเพลิง เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตรายได้

ในอเมริกาเอง...

ก็เคยมีอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของถังดับเพลิงหลายครั้ง 

ยกตัวอย่าง

เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิด เนื่องจากเกจวัดแรงดันของถังก๊าซไนโตรเจนชำรุด ในขณะที่กำลัง recharge ถังดับเพลิง

ทำให้ก๊าซไนโตรเจน ที่มีแรงดันสูงถึง 2500 ปอนด์ ถูกอัดเข้าไปในถังดับเพลิง ซึ่งรับแรงดันได้เพียงแค่ 150 ปอนด์ เท่านั้น 

จนเป็นเหตุให้เกิดการระเบิด และมีผู้เสียชีวิต

ส่วนอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

ไม่ได้เกิดจากการ recharge ถังดับเพลิง แต่เกิดขึ้นใน "บ้านเรือน" เพราะการวางถังดับเพลิงเก่าๆ ไว้บนพื้นที่เปียกชื้น 

จนทำให้ก้นถังเป็นสนิม และก้นถังติดกับพื้น ในขณะที่เจ้าของบ้านกำลังจะยกขึ้น เพื่อไปจัดเก็บในที่อื่น 

ก็เกิดการระเบิดเกิดขึ้นทันที เพราะก้นถังที่เป็นสนิมทะลุ 
 
 
ใน NFPA 10 section 7.1.2.1 (2018) กำหนดไว้ว่า

ผู้ที่ทำการ maintenance หรือ recharge ถังดับเพลิง ต้องได้รับการรับรองการอบรมจากหน่วยงาน ที่ Authority Having Jurisdiction (AHJ) ให้การรับรอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การส่งถังดับเพลิงกลับไป recharge หรือ สั่งซื้อดับเพลิงต้องซื้อหรือใช้บริการจาก ผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้เท่านั้น

2. ทุกครั้ง ก่อนทำการเติมเคมีลงในถังดับเพลิง ต้องสังเกตว่า ถังดับเพลิงชำรุด หรือเปล่า โดยเฉพาะบริเวณที่ก้นถัง รวมถึงมี มอก.มั้ย

3. ในขณะที่กำลังเติมก๊าซไนโตรเจน ควรมีการ์ดป้องกันสำหรับวางถังดับเพลิงเข้าไปไว้ในกรง เพื่อป้องกันในกรณีที่เกิดการระเบิดเกิดขึ้น รวมถึงกะบังหน้า และ แว่นตานิรภัยก็เป็นสิ่งที่จำเป็น

4. เกจวัดแรงดัน และ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการ recharge ต้องตรวจสอบสม่ำเสมอ

5. การติดตั้งถังดับเพลิง ควรหลีกเลี่ยงความชื้น ความร้อน รวมถึงสารเคมีที่ก่อให้เกิดการผุกร่อน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

6.ถังดับเพลิง ต้องทำการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน ถังดับเพลิงที่ชำรุด หรือ มีอายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี ควรส่งทำการทดสอบ หรือ ไม่ควรนำมาใช้

ข้อคิดประจำวัน

ความปลอดภัยต่อรองไม่ได้ 
ไม่ปลอดภัย ไม่ทำ

คำพูด ที่ปราศจากการกระทำ 
ไม่ได้ช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

#ถังดับเพลิงระเบิด

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้
ติดต่ออบรม www.pramoteo.com

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย

ท่านใดสนใจหนังสือที่ผมเขียน

สามารถสั่งได้ที่
หรือ Facebook : The Safety Coach