วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พนักงานเกือบขาดอากาศหายใจในที่อับอากาศ

ฺำNear miss in confined space


ช่วงนี้ค่อนข้างวุ่นๆเลยไม่มีเวลาเขียนบทความเท่าไร เผอิญไปเจอข้อมูลเก่าสมัยที่เป็นจป.วิชาชีพ อ่านแล้วเป็นประโยชน์ดีครับ ซึ่ง Near miss เป็นอะไรที่ช่วยให้เราประเมินได้ว่ามาตรการความปลอดภัยของเราเป็นอย่างไร และเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับปรุงแก้ไข

ผมค้นไปค้นมาก็เจอหัวข้อนี้ที่น่าสนใจก็เลยเอามาลงให้อ่านนะครับ


เหตุการณ์:

ขณะที่พนักงานเข้าไปทำความสะอาดในถังผลิตสารเคมี แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น pneumatic valve (วาล์วลม) ในท่อไนโตรเจนถูกเปิด โชคดีที่พนักงานรู้สึกถึงก๊าซที่รั่วไหล ทันใดนั้นเขารู้สึกว่ามีลมจำนวนมากพุ่งเข้าไปภายในปากของเขา จึงรู้สึกไม่ดีและรีบปีนออกมาจากถังผลิตเคมีทันที พนักงานมีอาการไม่สบาย และไม่เป็นปกติไปหลายวัน


สาเหตุ:

- ไม่มีใบขออนุญาตลงถัง ที่อับอากาศ

- ท่อ วาล์วต่างๆถังผลิตเคมีไม่ได้ถูกทำการป้องกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเข้าไปปฏิบัติงานภายใน และไม่ได้มีการตัดแยกระบบของท่อต่างๆก่อนเข้าไปในถัง

- ไม่มีการตรวจสอบอากาศภายใน

- พนักงานไม่สวมหน้ากากป้องกัน หรือเครื่องช่วยหายใจ

- พนักงานไม่นำเข็มขัดนิรภัย/สายช่วยชีวิตมาใช้

- สวิตซ์ Compressed air และ Pneumatic valve ไม่ได้ทำการล็อค

- ไม่มีผู้สังเกตการหรือสำรวจภายนอกถัง ซึ่งสามารถช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน


มาตรการในการปรับปรุงแก้ไข

- ออกเป็นกฎ และการขออนุญาตของการทำงานในสถานที่อับอากาศ

- อบรมหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานให้เพียงพอ


เครื่องเตือนสติ

- การทำงานในที่อับอากาศ ปราศจากการป้องกันเพื่อความปลอดภัย ปราศจากการการปิดแยกระบบต่างๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้

- หัวหน้างาน และผู้จัดการพื้นที่ ต้องมีความคุ้นเคยกับการทำงานในที่อับอากาศ ผู้จัดการที่รับผิดชอบต้องตรวจสบพื้นที่ทำงานในสถานการณ์นั้นๆก่อนที่จะอนุญาต

- การปิดวาล์วต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การตัดระบบท่อ วาล์ว เป็นสิ่งสำคัญมาก


คำถามที่เป็นประโยชน์

- โรงงานมีการชี้ชัดในเรื่องของขั้นตอนการทำงาน และการตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานในสถานที่อับอากาศ ระบบการอนุญาตทำงานหรือไม่? ขั้นตอนการทำงานต้อง อธิบายเป็นทีละขั้นตอนใช่หรือไม่? ต้องมีผู้อนุญาตให้ทำงานได้ก่อนปฏิบัติงานหรือไม่?

- มีมาตรการที่เข้มงวดในการปฏิติงานหรือไม่

- การประสานงานระหว่างเจ้าของพื้นที่ และฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยที่ ดีใช่หรือไม่


ไว้โอกาสหน้าจะหาตัวอย่างอื่นๆมาให้อ่านกันอีกครับ

ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น