วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เราได้เรียนรู้อะไร จากระเบิดในเลบานอน

เราได้เรียนรู้อะไร?

จากเหตุระเบิดครั้งใหญ่ ที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ในประเทศเลบานอน

ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตล่าสุด 100 คน ยอดผู้บาดเจ็บอีก 4,000 คน 

สาเหตุเกิดจากไฟไหม้โกดังเก็บแอมโมเนียมไนเตรท จำนวน 2,750 ตัน ซึ่งยึดมาจากเรือลำหนึ่ง และเก็บไว้นานถึง 6 ปี
 
รัฐบาลเลบานอน ตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงอนุญาตให้เก็บสารเคมีจำนวนมหาศาลเช่นนี้ในย่านชุมชน เป็นระยะเวลา 6 ปี 

สาเหตุยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า แอมโมเนียมไนเตรท ระเบิดได้อย่างไร ? 

เรามาทำความรู้จักกับแอมโมเนียมไนเตรทกันก่อนดีกว่าครับ

- แอมโมเนียมไนเตรท คืออะไร?

แอมโมเนียมไนเตรท มีสูตรโมเลกุล NH4NO3 ที่เรารู้จักกันในชื่อของปุ๋ยเคมี ที่มีไนโตรเจนสูง และละลายในน้ำได้ดี เป็นผงสีขาวเหมือนน้ำตาลทราย ไม่มีกลิ่น 

และถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายที่ ต้องขออนุญาตในการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530
 
- ความเสี่ยง และ ความปลอดภัย ตามมาตรฐาน EU

Risk Phrases: ความเสี่ยง

 R 36/37/38 ระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง 
 R 8 อาจติดไฟ เมื่อสัมผัสกับวัตถุที่สามารถลุกติดไฟได้ 
 R 9 ระเบิดเมื่อผสมกับวัตถุที่สามารถลุกติดไฟได้ 

Safety Phrases: ความปลอดภัย

S 17 จัดเก็บให้ห่างจากวัตถุที่สามารถลุกติดไฟได้ 
S 26 ในกรณีที่เข้าตา ให้ล้างน้ำออกทันทีปริมาณมากๆ และรีบไปพบแพทย์
S 37/39 สวมถุงมือ อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตาที่เหมาะสม

สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทราบคือ แอมโมเนียมไนเตรท  จัดเป็นสารออกซิไดซ์ 5.1 คือ สามารถให้ออกซิเจน และทำให้สารที่รับออกซิเจนได้ดี เกิดการลุกติดไฟ และระเบิดได้อย่างรุนแรงได้ 

มากไปกว่านั้น ในกรณีที่หกลงบนไม้ หรือ สารอินทรีย์ จะทำให้เกิดการลุกติดไฟได้ 

สมัยที่ผมอยู่โรงงาน ก็มีสารออกซิไดซ์ในโรงงานเหมือนกัน เจ้านายฝรั่งจึงสั่งให้เปลี่ยนเป็นพาเลทโลหะ หรือ พลาสติก แทน 

เพื่อป้องกันการลุกติดไฟ และ ระเบิด และ ไม่นานนักก็ยกเลิกใช้ และ จัดเก็บสารตัวนี้ เพื่อป้องกันที่ต้นเหตุ

ข้อควรระวัง !
สำหรับเกษตรกรที่นำมาใช้เป็นปุ๋ย และ ผู้ที่ครอบครอง

 
1. เก็บให้ห่างจากสารไวไฟ และ สารที่เข้ากันไม่ได้

2. เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน

3. ปิดป้ายระบุอันตราย 

4. ติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่ 

5. ห้ามใช้ไฟสว่างที่คายความร้อนมาก เช่น สปอตไลต์ ในระยะ 60 ซม.

6.ห้ามเก็บสารไวไฟ อาทิ ก๊าซหุงต้ม, กัมมะถัน, น้ำมัน หรือสารหล่อลื่น ไว้ใกล้ 

7.ห้ามเก็บวัสดุติดไฟได้ อาทิ ไม้, กล่องกระดาษ, หรือสารเคมีการเกษตรไว้ใกล้ปุ๋ย

เมื่อปี 2542 ในประเทศไทยเราเอง ก็เคยเกิดเหตุโรงงานลำไยระเบิด ที่ภาคเหนือ คล้ายๆที่เลบานอน แต่ความรุนแรงน้อยกว่า 

แต่ก็เป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิตถึง 45 คน ในระยะรัศมี 1 กม. บ้านเรือนเสียหายกว่า 500 หลังคาเรือน มูลค่าความสูญเสียไม่ต่ำว่า 500 ล้านบาท 

สาเหตุไม่ได้เกิดจากแอมโมเนียมไนเตรท แต่เป็น "โปแทสเซียมคลอเรท" ซึ่งเป็นสารออกซิไดซ์ เหมือนกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การไม่ปฏิบัติตามกม.ความปลอดภัย นำไปสู่ความหายนะ

2. อะไรที่เคยทำจนชิน แล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่เกิดขึ้น

3. ทุกอุบัติเหตุ/อุบัติภัย ที่จากความเคยชิน นั้นรุนแรงเสมอ

4. อ่าน MSDS แล้วต้องประเมินความเสี่ยง และ สร้างมาตรการป้องกัน

5. รู้แล้วว่าอันตราย แต่ไม่ป้องกัน ไม่ได้ช่วยอะไรเลย  (รู้หมดแต่อดไม่ได้)

อุบัติเหตุมีไว้เรียนรู้ 
ความปลอดภัยมีไว้ป้องกัน

พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้

ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
The Safety Coach

www.pramoteo.com

#แอมโมเนียมไนเตรท
#ระเบิดเบรุต
#ระเบิดเลบานอน
#เบรุต
#ข่าวระเบิดล่าสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น