
ความเดิมตอนที่แล้วเราได้เห็นวิธีการพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Talk to) แต่เหตุใดพฤติกรรมเสี่ยง (At risk) เหล่านี้ถึงได้เกิดขึ้นล่ะ มันเป็นพฤติกรรม หรือโรคติดต่อหรือเปล่าก็ไม่รู้ เรามาดูกันดีกว่าครับ
การที่คนแสดงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยนั้นมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆแล้วมีสาเหตุแอบแฝงดังต่อไปนี้
สาเหตุแอบแฝง(underlying causes)
- ขาดความรู้ หรือไม่ได้รับการอบรม
- คิดว่ามันไม่เกิดขึ้นตอนนี้หรอก
- ทัศนคติไม่ดีต่อความปลอดภัย
- ไม่เข้าใจการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย
- ทำแบบนี้มานานแล้วก็ไม่เป็นอะไร
- ทำตามพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของคนหมู่มาก
- สะดวกอิสระ สบาย เอาง่ายเข้าว่า
- ให้ความสำคัญผลผลิตมากเกินไป
- สภาพจิตใจในขณะนั้น เป็นกังวล จิตใจไม่ปกติ
เฉลย คือ ข้อที่ 1, 4 และ 7 คือ พนักงานไม่มีความรู้ว่าทินเนอร์มันอันตรายต่อสุขภาพเพียงใด, ไม่ทราบว่าตลับกรองที่สวมใส่อยู่หมดอายุซะแล้ว และปฏิสธการสวมใส่หน้ากากเพราะว่าสบายกว่า
แต่คนเรา หรือหัวหน้างานมักจะด่วนพิพากษาก่อนเลย คือ ตัดสินจากตาของเราที่เห็น เช่น พนักงานไม่ใส่หน้ากาก ก็สรุปเลยว่าไอ้นี่ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัยเลย แต่แท้จริงแล้วอาจมาจาก ข้อที่ 1 ก็ได้ คือ ขาดความรู้ ไม่ได้รับการอบรม
ผมมีตัวอย่างหนึ่งน่าสนใจมากที่ได้ยินมาจาก อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ เรื่องมันมีอยู่ว่า
ภาพ : citicab.weebly.com
“บริเวณจุดกลับรถแห่งหนึ่ง คนขับรถเก๋งสุดหรูกำลังรอที่จะกลับรถที่จุดกลับรถ อย่างไม่รีบร้อน ทันใดนั้นเอง แท๊กซี่ที่อยู่ด้านหลังกดแตรไล่ ปิ้นๆๆๆ คนขับรถเก๋งก็อารมณืเสียขึ้นมาทันที และไม่สนใจไม่ยอมกลับรถสักทีนานอยู่หลายนาที แม้ว่ารถจะว่างแล้ว คนขับรถเก๋งก็ไม่ขยับไปไหน แท๊กซี่ก็กดแตร์ต่อไป ทั้งถี่ ทั้งยาว สนั่นหวั่นไหวมากกว่าเดิม คนขับรถเก๋งโกธรจัด หูแดง ควันออกจมูก ลงจากรถ ด้วยใบหน้าที่แดงกร่ำ ด้วยความโกธร และเดินตรงไปที่แท๊กซี่ และบอกว่า…”
คนขับรถเก๋ง : ลุง มีปัญหาอะไร!
ลุงขับแท๊กซี่: รถก็ว่างแล้วทำไมคุณไม่ไปล่ะครับ แต่ตอนนี้ผมไม่รีบแล้วล่ะ
คนขับรถเก๋ง : ทำไมล่ะ! และเหลือบมองเข้าไปที่เบาะหลัง เห็นหญิงสาวนอนแน่นิ่ง
ลุงขับแท๊กซี่: ผมมีคนป่วยมาด้วยเขาต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วน แต่สายไปเสียแล้วล่ะ เขาเสียชีวิตแล้วครับ
คนขับรถเก๋ง : แน่นิ่ง มือสั่น ทำอะไรไม่ถูกและรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ตนเองทำลงไปเนื่องจากไม่ทราบสาเหตุก่อน
ตัวอย่างนี้ค่อนข้างชัดเจน ผมคงไม่อธิบายแล้วนะครับว่า การไม่ค้นหาสาเหตุแอบแฝงก่อน หรือสรุปเอาเอง ไม่ห้อยคำพิพากษาก่อน ผลสุดท้ายมันเป็นอย่างไร

คำถามที่เป็นประโยชน์
- ที่ทำงานของเราพนักงานพนักงานทำพฤติกรรมเสี่ยง (At risk ) บ้างหรือเปล่า?
- พนักงานเหล่านั้นทำพฤติกรรมเสี่ยงเนื่องจากสาเหตุ (Underlying causes) เหล่านี้หรือไม่?
- เราจะใช้วิธีใดในการเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ what if และ talk to สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่?
- เราเคยด่วนพิพากษาก่อนเลยหรือเปล่า?

ภาพ : www.dir.coolclips.com
สรุป
อย่าด่วนพิพากษา เพราะถ้าเราไม่มีการค้นหาสาเหตุแอบแฝงก่อน อาจทำให้เราเข้าใจผิด เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์มักคิดในแง่ลบก่อนเสมอ (Negative thinking) ที่มากไปกว่านั้น การไม่ค้นพบสาเหตุแฝงที่แท้จริงยังทำให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าวซ้ำไป ซ้ำมา จนเกิดการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุได้ และผลที่ตามมาคือเราจะเห็นว่าพนักงานทำงานปลอดภัยก็แค่เฉพาะเวลาที่เราเข้ามาตรวจเท่านั้น แล้วตอนที่เราไม่ได้มาตรวจล่ะครับ?
ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อยากรับข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมรบกวนคลิ๊ก "like" ให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
Source : www.pramoteo.com